วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 14.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้นายมุข สุไลมาน เลขานุการประธานสภาผู้แทน ราษฎรรับยื่นญัตติด่วนขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จาก นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคก้าวไกล  โดย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ กล่าวถึงการเสนอญัตติดังกล่าวว่า พรรคก้าวไกลยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเดินหน้าเลือกตั้ง สสร.ทั้งหมด เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มี สสร. ฉบับก้าวไกล เป็นการเพิ่มหมวด 15/1 (การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) และแก้ไข มาตรา 256 (การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ) โดยมีสาระสำคัญ 10 ประเด็นดังต่อไปนี้

1. จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)จำนวน 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
   1.1 สสร.ประเภทที่ 1 จำนวน 100 คน เป็นแบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับเลือกเป็น สสร.จังหวัด
   1.2 สสร.ประเภทที่ 2 จำนวน 100 คน เป็นแบบบัญชีรายชื่อ ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง โดยสมัครเป็นทีม ประชาชนหนึ่งคน เลือกได้ 1 ทีม ซึ่งระบบการเลือกตั้งที่มี สสร. ทั้ง 2 ประเภท จะทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งตัวแทนเชิงพื้นที่ และตัวแทนเชิงประเด็น เชิงกลุ่มอาชีพ และเชิงกลุ่มสังคม

2. กำหนดให้ สสร. มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ ตราบใดที่ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ตามที่บัญญัติไว้แล้วในรัฐธรรมนูญมาตรา 255

3. กำหนดให้ สสร. มีกรอบเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จำนวนไม่เกิน 360 วัน เพื่อให้ สสร. มีเวลาเพียงพอในการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านและทำงานอย่างรอบคอบ และไม่ล่าช้าจนเกินไป

4. กำหนดคุณสมบัติในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สสร. ต้องมีอายุขั้นต่ำ คือ 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยสากลว่าอายุขั้นต่ำสำหรับการลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ก็ตาม มักยึดตามอายุขั้นต่ำในการมีสิทธิเลือกตั้ง 

5. กำหนดให้ สสร. มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกอบไปด้วย สสร. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการ เพื่อให้ กมธ. มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่ และอีก1/3 ของจำนวนกรรมาธิการ เปิดพื้นที่ให้กับคนนอกที่ สสร. คัดเลือกและอนุมัติ เพื่อให้ กมธ. มีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ ที่อาจไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง

6. กำหนดให้มีการจัดทำประชามติ หลังจากที่ สสร. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ เพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564

7. กำหนดให้ สสร. มีอำนาจจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) และส่งให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ หากรัฐสภาไม่เห็นชอบ พรป. ฉบับไหนของ สสร.ให้รัฐสภาจะมีอำนาจรับไปทำใหม่เอง เพื่อประหยัดเวลาและป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

8. กำหนดให้ สสร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ โดยไม่ถูกกระทบจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร หรือ สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ เพื่อความต่อเนื่องของ สสร. ในการทำงาน และของกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

9. กำหนดให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น สสร. ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น สส.  สว. รัฐมนตรี  ผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ภายใน 5 ปีแรก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

10. ปรับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256) โดยกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้ หากได้รับความเห็นชอบเกิน กึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา (ซึ่งประกอบไปด้วย สส. ที่มาจากการเลือกตั้ง และ สว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) และ ได้รับความเห็นชอบเกิน 2ใน3 ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนโดยผ่านการทำประชามติ โดยมีความคาดหวังว่าประธานสภาผู้แทนราษฎร จะบรรจุ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การระเบียบการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยการประชุมนี้ เพื่อเป็นการเดินหน้าฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย ของประเทศต่อไป

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats