ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมไตรภาคี (Tripartite Forum) ว่าด้วยการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่สดใสในอาเซียน: กลยุทธ์เพื่อความพร้อมในการรับมือด้านไซเบอร์ของอาเซียนและ ความเจริญรุ่งเรือง ร่วมกัน

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 11 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2567

เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิ.ย. 67 เวลา 8.45 - 17.00 น. นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภา
ไทยในการประชุมไตรภาคี ว่าด้วยการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่สดใสในอาเซียน: กลยุทธ์เพื่อความพร้อมในการรับมือ
ด้านไซเบอร์ของอาเซียนและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Tripartite Forum on Building a Vibrant Digital Economy in 
ASEAN: Strategies for Cyber Resilience and Shared Prosperi) ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลามการประชุมไตรภาคีดังกล่าว จัดขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นการประชุมย่อยคู่ขนานการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 15 ซึ่งมีหัวข้อของ
การประชุมสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 15 คือ “การเสริมสร้างความพร้อมในการ
รับมือด้านไซเบอร์ของอาเซียนผ่านความร่วมมือของรัฐสภา: มุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ปลอดภัยและสดใสในอนาคต 
(Strengthening ASEAN Cyber Resilience through Parliamentary Cooperation: Towards a Future of Safe and Vibrant 
Digital Economy)” โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สมาชิกรัฐสภา AIPA เลขาธิการ AIPA 
ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนและเอเปค ประจำบรูไนดารุสซาลาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ คนที่ 2 ประธานกรรมการบริหารธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และประธาน
สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA)

ที่ประชุมได้รับฟังการกล่าวปาฐกถาพิเศษและร่วมกันอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการสร้างอาเซียนที่มีความพร้อมในการรับมือด้านไซเบอร์ ตลอดจน
การนำเสนอในหัวข้อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ภูมิทัศน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อความพร้อมในการรับมือด้านไซเบอร์

ทั้งนี้ ในช่วงการอภิปรายในหัวข้อย่อย ว่าด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนดังกล่าว นายเท่าพิภพ 
ลิ้มจิตรกร ผู้แทนรัฐสภาไทย ในฐานะผู้ร่วมกล่าวอภิปราย ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชนเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการรับมือด้านไซเบอร์ให้บรรลุผลสำเร็จ โดยรัฐสภาไทยมีการริเริ่มจัดตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการควบคุมและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) 
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการสร้างความเชื่อมั่นในการรับมือด้านไซเบอร์และการบริหารจัดการเกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย การปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และกรอบการกำกับดูแลกระบวนการทำงานด้าน AI (AI Governance) ตลอดจนแนวทางการพัฒนากรอบการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศสมาชิกให้มีความสอดคล้องกัน 

เครดิตภาพและข่าว : กลุ่มงานสมัชชารัฐสภาอาเซียน สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats