FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับยื่นหนังสือจาก ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ๖ หมู่บ้าน เรื่อง ขอให้มีการติดตามตรวจสอบเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู การปนเปื้อนมลพิษจากเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 5 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563

       วันพุธที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๒๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ 
อาคารรัฐสภา นายอภิชาติ ศิริสุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับยื่นหนังสือจาก นางวิรอน  รุจิไชยวัฒน์ ตัวแทนก
ลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ๖ หมู่บ้าน เรื่อง ขอให้มีการติดตามตรวจสอบเพื่อให้เกิด
การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู การปนเปื้อนมลพิษจากเหมืองแร่ทองคำของบริษัท 
ทุ่งคำ จำกัด สืบเนื่องมาจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ 
จำกัด ณ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม
และสุขภาพของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบเหมือง ซึ่งที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้ทำการตรวจสอบและพิสูจน์การปนเปื้อนมลพิษหลายครั้ง และพบว่ามีการปนเปื้อน
สารไซยาไนด์และโลหะหนักในดินและน้ำสูงเกินค่ามาตรฐาน   ในระดับรุนแรงทุกครั้ง 
แต่ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับเหมืองได้ ในขณะที่ตลอดระยะเวลาเกือบ ๑๔ ปี 
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ซึ่งเป็นประชาชนใน ๖ หมู่บ้านที่อาศัยอยู่รอบเหมือง ได้เรียกร้อง
ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหา รวมถึงเรียกร้องให้หยุดการทำเหมือง 
และเพิกถอนประทานบัตรการทำเหมืองแร่ แต่ก็ไม่เป็นผลใด ๆ และยังถูกละเมิดสิทธิ
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างรุนแรง จากการบิดเบือนของกฎหมายและนโยบาย
ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการฟ้องคดีเพื่อกลั่นแกล้งรวมทั้งสิ้น ๒๗ คดี ดังนั้น เพื่อให้เกิด
การฟื้นฟูขึ้นจริงอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งลดผลกระทบต่อประชาชน หยุดความเสี่ยงทาง
สุขภาพที่จะเกิดขึ้น จึงขอให้คณะ กมธ. ช่วยดำเนินการตรวจสอบและติดตามให้มีการ
แก้ปัญหาดังกล่าว ดังนี้ 
๑.ขอให้ตรวจสอบสัญญาว่าด้วยการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ระหว่างรัฐบาล
กับบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเสนอความเห็นให้ยกเลิกสัญญา พร้อมทั้ง
เพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด
๒. ขอให้แผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเหมืองแร่ทองคำของ บริษัท ทุ่งคำ 
จำกัด ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดขอบเขตการฟื้นฟู 
โดยเน้นแผนฟื้นฟูของประชาชนเป็นหลัก ที่ครอบคลุมมิติสุขภาพสิ่งแวดล้อม สังคม และ
เศรษฐกิจอย่างรอบด้าน 
๓. ขอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางอำนวยการเพื่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมภายในและ
ภายนอกเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด 
๔. ขอให้เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ในระหว่างที่ยัง
รอการฟื้นฟู เช่น ปัญหาสันเขื่อนกักเก็บกากแร่ทรุดตัว ปัญหาการรั่วไหลสารพิษจากบ่อกักเก็บ
กากแร่หรือบริเวณอื่น ๆ ของเหมืองที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการถล่ม รวมถึงการสำรวจการกระจายตัว
ของสารไซยาไนด์และสารโลหะหนัก ในพื้นที่เกษตรกรรม และที่อาศัยของชุมชน 
       โดย นายอภิชาติ ศิริสุนทร กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม
คณะ กมธ. เพื่อพิจารณาต่อไป

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats