FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า สมาชิกพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมทั้งหมด ๘ ร่าง

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563

       วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๑๕ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ 
อาคารรัฐสภา นายชลน่าน  ศรีแก้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ
ประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า 
สมาชิกพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมทั้งหมด 
๘  ร่าง โดยมี ๒ ร่างที่ไม่สามารถบรรจุในวาระการพิจารณาของรัฐสภาได้ คือ 
       ๑) ร่างของพรรคก้าวไกล เนื่องจากมีรายชื่อสมาชิกไม่ถึง ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด 
       ๒) ร่างแก้ไขที่เกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน เนื่องจากมีการแก้ไขเนื้อหา
เกินหลักการ ทำให้เหลือเพียง ๖ ร่าง ได้แก่ 
            ๑)ร่างแก้ไข มาตรา ๒๕๖ ของพรรคร่วมรัฐบาล 
            ๒) ร่างแก้ไข มาตรา ๒๕๖ ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน 
            ๓) ร่างแก้ไขเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง 
            ๔)ร่างแก้ไข มาตรา ๒๗๒  ที่มาของนายกรัฐมนตรี และการให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภา
เห็นชอบนายกรัฐมนตรี 
            ๕) ร่างแก้ไขมาตรา ๒๗๐ และ ๒๗๑ เรื่องอำนาจสมาชิกวุฒิสภาในการปฏิรูปประเทศ 
รวมถึงการพิจารณากฎหมายที่ถูกยับยั้งไว้ และ ๖) ร่างแก้ไข มาตรา ๒๗๙  การนิรโทษกรรม 
และประกาศคำสั่งต่าง ๆ  ที่ออกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ส่วนกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ยื่นหนังสือถึงประธานรัฐสภา 
เพื่อขอคัดค้านการบรรจุร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ๔ ฉบับของพรรคฝ่ายค้าน โดยอ้างว่า
ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเนื่องจากมี ส.ส. ลงชื่อซ้ำซ้อนกัน นั้น นายชวน หลีกภัย ประธาน
สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ความเห็นว่า สามารถกระทำได้ เนื่องจากร่างที่แต่ละคนได้ยื่นมานั้น   
เป็นคนละเรื่องกัน แม้เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนกัน แต่เป็นคนละประเด็น จึงไม่ถือ
ว่าลงชื่อซ้ำกัน 
       ขณะที่ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อ มาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กำหนดให้การจัดทำหรือแก้กฎหมายต้องมีการรับฟังความคิดเห็น
ของประชาชน นายชลน่าน กล่าวว่า กฎหมายที่ต้องรับฟังความคิดเห็น คือ ร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติทั่วไป และร่างพระราชบัญญัติประมวลกฎหมาย 
ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญร่วมด้วย ดังนั้น จึงไม่เกี่ยวข้อง และไม่เป็นประเด็นต่อการพิจารณา
แก้ไขรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด สำหรับการชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน 
ที่เกิดขึ้นนั้น ยอมรับว่ามีผลโดยตรงต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีแรงต้าน 
แต่ปัจจุบันท่าทีของหลายฝ่ายเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงรัฐบาลด้วย  ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้สมาชิก
วุฒิสภาทั้ง ๒๕๐ คน ร่วมกันหาทางออก ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ผ่านมา ส.ว.บางคน 
เห็นว่า อำนาจหน้าที่บางอย่างก็ไม่เหมาะสมกับ ส.ว. ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย 
จึงควรร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ ด้วยการสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้น

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats