FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เตือนพรรคการเมืองคิดให้ดีก่อนเช็คบิล ส.ส.แหกมติ ชี้รัฐธรรมนูญให้ผู้แทนปวงชนมี “เอกสิทธิ์-อิสระ”

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เตือนพรรคการเมืองคิดให้ดีก่อนเช็คบิล ส.ส.แหกมติ ชี้รัฐธรรมนูญให้ผู้แทนปวงชนมี “เอกสิทธิ์-อิสระ” 

นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง กล่าวถึงกรณี ส.ส.ลงมติในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลไม่เป็นไปตามมติพรรค และแต่ละพรรคมีการตั้งกรรมการสอบสวนว่า ประเด็นนี้ไม่ควรมองในมิติเสถียรภาพของรัฐบาล ความเป็นเอกภาพของพรรคฝ่ายค้าน หรือมารยาททางการเมืองเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องมองในมุมของหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อการทำหน้าที่ของ ส.ส.ด้วย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติเกี่ยวกับความเป็นอิสระ และเอกสิทธิ์ของ ส.ส.ไว้ในหลายส่วน อาทิ มาตรา 114 ที่ระบุว่า ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ ขณะที่มาตรา 124 ก็ระบุว่า ในที่ประชุมสภาฯ ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ตลอดจนข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562  ข้อ 178 วรรคหนึ่ง ก็ได้กำหนดไว้สอดคล้องกัน คือ ทั้งในการอภิปราย หรือการลงมติ สมาชิกของพรรคการเมืองย่อมมีอิสระไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนของปวงชนชาวไทย ที่ต้องมีอิสระ การลงมติใด ๆ ของ ส.ส. แต่ละคนย่อมเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. ผู้นั้น ที่จะไม่อยู่ในอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาฯ ที่ได้บัญญัติรองรับไว้อย่างชัดเจนว่า ส.ส.ย่อมอยู่ภายใต้หลักของการทำหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการของพรรคการเมืองเพื่อสอบสวน ส.ส.ที่ไม่ลงมติตามมติพรรคนั้นสามารถกระทำได้ภายใต้ข้อบังคับของพรรคการเมืองนั้นๆ เพื่อแสวงหาเหตุผลที่ ส.ส.ไม่ปฏิบัติตามมติพรรค และนำไปชี้แจงต่อประชาชน รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในกรณีฝ่ายรัฐบาล อาจจะเป็นเพราะรัฐมนตรีผู้นั้นชี้แจงข้อกล่าวหาได้ไม่ชัดเจน ก็เป็นรัฐมนตรี หรือพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ต้องดำเนินการชี้แจงเพิ่มเติม ด้าน ส.ส.ฝ่ายค้านก็อาจมองรัฐมนตรีชี้แจงได้ชัดเจนดีแล้วจึงลงมติไว้วางใจให้ เป็นต้น ส่วนการจะสอบสวนเพื่อนำไปสู่การลงโทษ ซึ่งข้อบังคับของแต่ละพรรคกำหนดโทษสูงสุดถึงขั้นขับออกจากพรรคนั้น ควรต้องพึงระวังว่าอาจจะขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 เข้าข่ายการกระทำที่ไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หรือเป็นลักษณะที่ยินยอมให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมืองหรือไม่ ยกตัวอย่าง หากใช้เหตุผลว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่พอใจ แล้วมาสอบสวนหรือลงโทษ ส.ส.ที่สังกัดพรรคตัวเอง อาจเข้าข่ายคนนอกครอบงำ เป็นเหตุให้นำไปสู่การร้องขอให้ยุบพรรคการเมืองนั้นได้ ในฐานะที่อยู่ในระบบพรรคการเมืองมาตลอด และเข้าใจดีถึงความสำคัญของความเป็นเอกภาพของพรรคการเมือง ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการให้ท้ายหรือสนับสนุนให้ ส.ส.แหกมติพรรค แต่ต้องไม่ลืมว่า มติพรรคไม่ได้มีสภาพบังคับตามกฎหมาย  เป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของพรรค แต่เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดไว้เช่นนี้พรรคต้นสังกัดก็ย่อมต้องให้เกียรติวิจารณญาณของ ส.ส.ด้วยเช่นกัน เพราะแม้ ส.ส.จะต้องสังกัดพรรคการเมือง และอยู่ภายใต้ข้อบังคับของพรรคการเมือง แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดจะอยู่เหนือรัฐธรรมนูญที่ให้อิสระไว้ได้ อีกทั้งการยึดติดให้ ส.ส.ต้องปฏิบัติตามมติพรรคอย่างเคร่งครัดก็อาจนำไปสู่ระบบใบสั่ง ทำให้ ส.ส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่มีเสรีภาพในการออกเสียงอย่างเป็นอิสระ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ “ผมเห็นว่าการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจฯของ ส.ส.เป็นวิจารณญาณของผู้นั้นที่จะตัดสินใจได้โดยอิสระ แต่ในทางกลับกันหากการลงมติของ ส.ส.ผู้นั้นไม่เป็นไปตามมติพรรค เพียงเพื่อแลกรับผลประโยชน์ต่างตอบแทนใดๆ หรือมีวาระส่วนตัวซ่อนเร้น ก็เป็นเรื่องที่ควรต้องถูกประณามและลงโทษในแง่จริยธรรมเช่นกัน หากชี้แจงไม่ได้หรือมีหลักฐานชัดเจน” นายสุชาติ ระบุ

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats