FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส. พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล เลขาธิการเครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทย ร่วมกันยื่นหนังสือถึง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 10.45 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล เลขาธิการเครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทย ร่วมกันยื่นหนังสือถึง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษประธานสภาผู้แทนราษฎร และ น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ คณะทำงานทางการเมืองของ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับมอบ สำหรับหนังสือดังกล่าวมี
รายละเอียดคือขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตรวจสอบการทำงานของคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษา
การขุดคลองไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จากการที่เครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทยและภาคีประชาชนในภาคใต้ ได้จัดเวทีหารือร่วมกัน และได้ข้อคิดเห็นนำเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นดังนี้

1. คณะ กมธ. มีหน้าที่ศึกษาข้อมูลเพื่อเสนอแนะต่อสภาผู้แทนราษฎรด้วยความเป็นกลาง แต่ที่ผ่านมาในการประชุม
คณะ กมธ. มุ่งหน้าสู่การผลักดันคลองไทยด้วยการใช้วิธีการต่าง ๆ ซึ่งทางภาคีภาคใต้เห็นว่าเป็นการกระทำผิด
จริยธรรมของ ส.ส. และ กมธ. ที่ต้องทำหน้าที่โดยปราศจากอคติใด ๆ แต่การทำหน้าที่ของคณะ กมธ. ดังกล่าวกลับ
เต็มไปด้วยอคติ มิได้มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อประเมินให้เห็นข้อดีข้อเสียอย่างเป็นธรรม แต่วิธีการของคณะ กมธ.
โดยเฉพาะประธานและรองประธาน เป็นไปในลักษณะผลักดันโครงการอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการกระทำที่เกินเลย
ต่อบทบาทหน้าที่และละเมิดข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ ข้อ 11
2. มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุ กมธ. อย่างไม่เป็นกลาง เพราะบุคคลซึ่งสนับสนุนการขุดคลองไทย ได้รับการแต่งตั้ง
ให้เป็นที่ปรึกษาคณะ กมธ.และคณะอนุ กมธ. ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ว่าเป้าหมายของคณะ กมธ. ไม่ได้ศึกษาด้วยความเป็นกลาง แต่มุ่งมั่นผลักดันการขุดคลองไทย
นอกจากนี้การแต่งตั้งบุคคลและท่าทีของคณะ กมธ. แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นกลางในกระบวนการศึกษาถือเป็นการละเมิดประมวลจริยธรรมฯ ข้อ 17
3. บุคคลที่คณะ กมธ. แต่งตั้งมาเป็นที่ปรึกษาและคณะอนุ กมธ. เป็นกลุ่มสนับสนุนการขุดคลองไทย มีการจัดทำเอกสาร
เผยแพร่ต่อสาธารณะที่ปราศจากข้อเท็จจริง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งเป็นการหลอกลวงสาธารณะ เช่น การขุดคลองไทยสามารถแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ได้ เป็นต้นโดยข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาปราศจากแหล่งอ้างอิงไม่ว่าจะเป็น
การจ้างงาน หรือรายได้จากการขุดคลองไทย ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลเป็นคณะ กมธ. และเข้าร่วมกระบวนการ
ทำงานถือเป็นการรับรองพฤติกรรมอันหลอกลวง และเป็นการละเมิดประมวลจริยธรรมฯ ข้อ 16
4. การทำหน้าที่ของคณะ กมธ. ไม่ได้ดำเนินการด้วยความเป็นกลาง แสดงให้เห็นถึงการทำหน้าที่เกินเลยจากคำสั่งแต่งตั้งให้ศึกษาข้อเท็จจริง แต่คณะ กมธ.แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการผลักดันการสร้างคลองไทย เพราะคณะ กมธ. ได้ลงนามข้อตกลงกับบริษัทเอกชนเพื่อศึกษาให้เกิดการขุดคลองไทย บทบาทดังกล่าวควรเป็นบทบาทของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่บทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ
5. เจตนารมณ์การผลักดันการสร้างคลองไทยและเขตเศรษฐกิจพิเศษของคณะ กมธ. ชุดนี้มีข้อบ่งชี้สำคัญ คือ
คณะ กมธ. 3 คน ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. การขุดคลองไทยและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันการสร้างคลองไทยและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว คณะ กมธ. ชุดนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันโครงการไม่ได้แสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการไต่สวนการทำงานของคณะ กมธ. เพื่อดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความถูกต้องและ
เป็นกลางของสภาผู้แทนราษฎร  โดยขอให้ตรวจสอบประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ
1. กระบวนการทำงานของคณะ กมธ. ถูกต้องหรือไม่ ทั้งในเชิงกระบวนการ ทิศทาง และการแต่งตั้งบุคคลในการทำงานทั้งหมดของคณะ กมธ. รวมทั้งขอให้ไต่สวนการลงนามความร่วมมือระหว่างคณะ กมธ. กับบริษัทเอกชนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และ 2. ขอให้ยุติการเสนอร่าง พ.ร.บ. การขุดคลองไทยและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างสำคัญ
 
ด้าน นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรมิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยจะรับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของร่าง พ.ร.บ. การขุดคลองไทยและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ พ.ศ. .... นั้น ยังไม่ได้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด ซึ่งถ้าหากบรรจุแล้วจะต้องผ่านหลายขั้นตอน อาทิ การตรวจสอบรายชื่อ
ผู้ยื่นร่าง พ.ร.บ. เนื้อหา การรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากประชาชนไม่เห็นด้วยสามารถ
คัดค้านได้คุกคามกระบวนการ ดังนั้น ขอให้ประชาชนไว้ใจในการดำเนินงานของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่
อย่างตรงไปตรงมา และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

จากนั้น น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ  ชี้แจงขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎรว่า ต้องมีการตรวจสอบเรื่องและเอกสารประกอบว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ จากนั้นจะพิจารณากลั่นกรองตามขั้นตอนของคณะอนุกรรมการจริยธรรม ก่อนจะเข้าสู่คณะกรรมการฯ ต่อไป
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats