FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษา และแก้ไขปัญหาช้างป่ารับยื่นหนังสือจากนายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 13.20 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 อาคารรัฐสภา นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ประธานคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษา และแก้ไขปัญหาช้างป่ารับยื่นหนังสือจากนายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เพื่อขออนุมัติให้ความช่วยเหลือนอกเหนือหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินของกระทรวงการคลังเฉพาะกรณีภัยจากช้างป่าด้านการเกษตร (ด้านพืช) ด้วยจังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่าจำนวนมาก ปัจจุบันมีช้างป่าในเขตป่าอนุรักษ์ประมาณ 400-500 ตัว และเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเพิ่มประชากรช้างป่าสูงที่สุดในประเทศไทย คือร้อยละ 8.2 ต่อปี จากข้อมูลการติดตามแก้ไขปัญหาข้างป่าและสัตว์ป่าที่สร้างผลกระทบต่อราษฎรพบว่าบริเวณที่ข้างป่าออกหากินในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี มีจำนวน 8 อำเภอ จาก 10 อำเภอ ข้างป่าเหล่านี้ได้ออกหากินนอกพื้นที่ป่า เนื่องจากในป่ามีอาหารไม่เพียงพอสำหรับช้างป่าที่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเดือดร้อนกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นวงกว้าง สร้างความเสียหาย ทั้งด้านชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และพื้นที่ทางการเกษตรของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ( 9 มีนาคม 2564 ) จังหวัดจันทบุรีได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยอื่น ๆ (ภัยจากช้างป่า) ไปแล้ว 286 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 28 ราย บาดเจ็บ 33 ราย ที่อยู่อาศัยเสียหาย 24หลัง และมีพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบกว่า 3,600 ไร่ (ในปี พ.ศ. 2563 จังหวัดจันทบุรีได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ภัยจากช้างป่า ต้านเกษตร (ด้านพืช) เป็นจำนวนเงิน 175,245 บาท คิดเป็นพืชประมาณ 100  ไร่) ซึ่งประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ได้ร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารท้องถิ่น ท้องที่จังหวัด ไปจนถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาลให้แก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ จังหวัดจันทบุรี ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาตังกล่าว โดยได้ยกปัญหาช้างป่านี้ขึ้นเป็น "วาระของจังหวัด" เพื่อให้ทุกหน่วยงานร่วมบูรณาการในการแก้ไขปัญหา สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากช้างป่า ที่ช้างป่าได้บุกรุกเข้าทำลายพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎรเสียหาย จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินของกระทรวงการคลัง และหลักเกณฑ์ปลีกย่อยของกระทรวงเกษตรฯ โดยให้ความช่วยเหลือเฉพาะในกรณีที่พืชตายโดยสิ้นเชิง เป็นข้าว ไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ ไร่ละ 1,149 บาท และพืชสวนและอื่น ๆ ไร่ละ 1,690 บาท ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ต่างมีความรู้สึกว่าการช่วยเหลือดังกล่าว ไม่เป็นธรรมกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่ช้างได้เข้าทำลายต้นพืช หรือกินพืชผลของเกษตรกร เนื่องจากพืชผลที่เสียหายล้วนแต่เป็นพืชผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย กล้วย เป็นต้น ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับช้างป่า และนำไปสู่การทำร้ายช้างจนตาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ประกอบกับ รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาช้างป่า โดยได้มีหนังสือซักซ้อมแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากช้างป่า โดยแจ้งว่า หากมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินทดรองราชการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย นอกเหนือหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้เสนอเรื่องขออนุมัติปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์ไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโตยด่วน เพื่อส่งให้กระทวงการคลังพิจารณาก่อน และเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติแล้ว จังหวัดจึงจะสามารถจ่ายเงินทดรองราชการนอกเหนือหลักเกณฑ์ได้ จังหวัดจันทบุรีจึงได้พิจารณาอัตราการช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อเป็นการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยนำข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของพืชที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า และสำนักงานโครงการชลประทานจันทบุรี เกี่ยวกับการชดเขยค่าทดแทนต้นไม้ในพื้นที่ที่ถูกเวนคืนในเขตชลประทานเพื่อเสนอขออนุมัติปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์ จึงขออนุมัติใช้อัตราการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวข้างต้น เป็นอัตราการให้ความช่วยเหลือฯ กรณีภัยจากช้างป่า เป็นกรณีพิเศษ หรืออาจพิจารณาอัตราการให้ความช่วยเหลืออื่นตามความเหมาะสม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างเหมาะสม
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats