FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “การสร้างอนาคตที่ดีกว่าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง : บทบาทของรัฐสภาในการวางยุทธศาสตร์การฟื้นฟูจาก โควิด-19 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” จัดโดยสหภาพรัฐสภา (IPU)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันอังคารที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 14.00–15.30 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย ณ ห้องประชุมสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา ศ.เกียรติคุณ นพ. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยนายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “การสร้างอนาคตที่ดีกว่าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง : บทบาทของรัฐสภาในการวางยุทธศาสตร์การฟื้นฟูจากโควิด-19  ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา      ที่ยั่งยืน” (“Building a better future where nobody is left behind: How can parliaments ensure that COVID-19 recovery strategies are in line with the SDGs?”) จัดโดยสหภาพรัฐสภา (IPU) ร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ผ่านโปรแกรมซูม (ZOOM) โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนากว่า 70 คน จากนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การสัมมนาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ (1) สถานะของการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจากการนำเสนอของ UNESCAP พบว่าในภาพรวมไม่เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมีความก้าวหน้าสูงที่สุด ในขณะที่เป้าหมายที่ 13 ว่าด้วยการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายที่ 14 ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล มีความก้าวหน้าน้อยที่สุด (2) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะแนวทางการฟื้นฟูสีเขียว (Green recovery) เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม (Build back better) ซึ่งประกอบด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว การบริหารจัดการและหมุนเวียนขยะ พลังงานสะอาด งานสีเขียว ความหลากหลายทางชีวภาพและแนวทางการฟื้นฟูที่คำนึงถึงธรรมชาติ ตลอดจนหลักนิติรัฐและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และ (3) บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR) โดยเฉพาะการประสานความร่วมมือและติดตามการรายงาน VNR ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น
ในการนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมอภิปรายในช่วงที่ 3 ได้แก่ บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการจัดทำรายงาน VNR โดยได้นำเสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบว่า รัฐสภาไทยมีกลไกในการจัดทำรายงาน VNR โดยคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ภายใต้คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ซึ่งได้เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม เพื่อให้ข้อมูลแก่คณะอนุกรรมาธิการฯ ทุกสองสัปดาห์ สำหรับการจัดทำรายงาน VNR ของไทยในปี 2564 กระทรวงการต่างประเทศอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมรายงานฉบับดังกล่าว โดยคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เชิญผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) มาให้ข้อมูลความคืบหน้าในการจัดทำรายงาน ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้มีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงและนำกลับมาเสนอต่อไป จึงเห็นได้ว่าสมาชิกรัฐสภาได้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นในกระบวนการจัดทำ VNR ของประเทศ นอกจากนี้  ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยในปี 2562 ประเทศไทยได้รับการจัดลำดับใน SDGs Index and Dashboards 2019 อยู่ในลำดับที่ 40 จากทั้งหมด 162 ประเทศ และอยู่ในลำดับที่ 1 ของอาเซียน และในปัจจุบัน สหประชาชาติได้มีการจัดทำ เครื่องมือใหม่ ที่เรียกว่า "SDGs Tracker" เพื่อเป็นมาตรฐานในการทบทวนสถานะความคืบหน้าของของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่าง ๆ 

เครดิต : ข่าว กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เครดิต : ภาพ กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats