FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันศุกร์ที่ ๒ เมษายน 2564 เวลา 11.40 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... แถลงข่าวเกี่ยวกับผลการประชุมของคณะ กมธ.เพื่อพิจารณาปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... ให้มีความสอดคล้องตามที่ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 (สมัยวิสามัญ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มี.ค. 64 ได้มีมติเห็นชอบกับคณะ กมธ.เสียงข้างน้อย ในการแก้ไขมาตรา 9โดยคณะ กมธ. ได้พิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นเวลา 2 วัน คือเมื่อวานนี้ (1 เม.ย. 64 ) และวันนี้ (2 เม.ย. 64) ซึ่งบรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นบรรยากาศของการหาทางออกร่วมกัน มีการถกแถลงที่ว่าด้วยเนื้อสาระ ประเด็นทางกฎหมาย และคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ไม่ได้มีความเห็นทางการเมืองใด ๆ โดยทุกพรรคการเมือง ทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมทั้งวุฒิสภา ต่างมีเป้าหมายตรงกัน คือ ต้องการให้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผ่านไปได้ด้วยดี

ทั้งนี้ ในประเด็นที่มีข้อกังวลว่าจะขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ทุกฝ่ายได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการนำมาปรับปรุง
แก้ไขในมาตราที่ขอแปรญัตติเพิ่มเติมนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งกฎหมายนี้เปิดโอกาสให้รัฐสภาและภาคประชาชน
มีส่วนสำคัญในการเสนอทำประชามติ ซึ่งคณะ กมธ. ได้หาวิธีการในการปรับปรุงเนื้อหาให้สอดรับกับมาตรา 9 โดยไม่
ขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญแต่ประการใดและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนสำหรับประเด็นการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของ
ประชาชนนั้น คณะ กมธ. ได้พิจารณาทบทวนอย่างละเอียด รอบคอบ และมีการอภิปรายด้วยเหตุผล โดยเห็นว่าจำนวน
10,000 คน นั้นน้อยเกินไป ซึ่งพลังการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ควรเป็นพลังที่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับฟัง จึงมีมติเห็นชอบว่า
หากภาคประชาชนจะเสนอให้มีการออกเสียงทำประชามติไปยังคณะรัฐมนตรี ต้องใช้เสียงจำนวน 50,000 คน

ทั้งนี้ คณะ กมธ. ได้พิจารณาและมีความเห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ในการแก้ไขมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 ซึ่งสอดรับกับรัฐธรรมนูญและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และอาจมีการแก้ไขบางมาตราเพื่อให้สอดรับกับบางเรื่องบางสิ่งเท่านั้น โดยคาดว่าจะเสนอร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ในวันที่ 7 เม.ย. 64 ซึ่งเป็นเรื่องที่ค้าง
การพิจารณามาจากการประชุมครั้งที่แล้ว และเชื่อว่าที่ประชุมจะให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats