FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายแทนคุณ จิตต์อิสระ โฆษก คณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... แถลงข่าวสรุปผลการพิจารณาของคณะ กมธ.

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 14 กันยายน 2565 เวลา 11.30 น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายแทนคุณ จิตต์อิสระ โฆษก คณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... แถลงข่าวสรุปผลการพิจารณาของคณะ กมธ. ซึ่งมีข้อควรพิจารณาใน 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อสังเกตของคณะ กมธ. เริ่มตั้งแต่ชื่อร่าง พ.ร.บ. คำปรารภ แล้วพิจารณาตามลำดับมาตราจนจบร่างแล้ว เห็นว่าควรมีข้อสังเกตที่สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรมีไว้ในรายงานของคณะ กมธ. เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม "เหตุผล" ของร่าง พ.ร.บ.นี้ เนื่องจากคณะ กมธ. ได้แก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 บทนิยามของคำว่า "คู่ชีวิต" หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้" ซึ่งกำหนดให้บุคคลทุกเพศสามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ตาม พ.ร.บ.อันไม่สอดคล้องกับเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ที่กำหนดว่า "โดยที่สถาบันครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญในการพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่การก่อตั้งครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำกัดเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันโดยกำเนิด...." ดังนั้น เพื่อให้เหตุผลของร่าง พ.ร.บ.นี้ สอดคล้องกับเนื้อหาของกฎหมาย คณะ กมธ.จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมเหตุผล เป็นดังนี้ โดยที่สถาบันครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญในการพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่การก่อตั้งครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำกัดเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงซึ่งกำหนดลักษณะความสัมพันธ์ให้มีเพียงรูปแบบเดียว คือ คู่สมรส ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนและหลากหลายของระดับและลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมีความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรส สมควรมีกฎหมายรองรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกเพศให้สามารถออกแบบในการก่อตั้งครอบครัวได้ โดยมีบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับการคู่ชีวิตและการเลิกการเป็นคู่ชีวิต สิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่ชีวิต การจัดการทรัพย์สิน การรับบุตรบุญธรรม และมรดก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทุกเพศ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.บ.นี้"

ส่วนที่ 2 การพิจารณาสิทธิหรือสวัสดิการของบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิหรือสวัสดิการของข้าราชการ หรือสิทธิประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ที่พึงได้รับจากรัฐ บุคคลนั้นจะต้องมีสถานะเป็นคู่สมรสหรือสามีหรือภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดเรื่องสิทธิหรือสวัสดิการของคู่สมรส หรือสามีภริยา มีความเชื่อมโยงกับกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ อีกหลายฉบับ โดยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เฉพาะบางฉบับบัญญัติโดยใช้คำว่า "คู่สมรส" จำนวน 73 ฉบับ และมีกฎหมายเฉพาะบางฉบับบัญญัติโดยใช้คำว่า "สามีภริยา" จำนวน 45 ฉบับ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีควรเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน แล้วเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายเฉพาะดังกล่าว เพื่อให้คู่ชีวิตได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ที่พึงได้รับจากรัฐเช่นเดียวกับคู่สมรสหรือสามีภริยา

ส่วนที่ 3 มีการแก้ไขมาตรา 7 การจดทะเบียนคู่ชีวิต จะกระทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้จดทะเบียนคู่ชีวิตก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats