FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และคณะ ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านการที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 66 ให้ความเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. ….

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายชลน่าน ศรีแก้ว  ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และคณะ  ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านการที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 66 ให้ความเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. …. ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 เพื่อขยายกำหนดเวลามีผลใช้บังคับ เฉพาะมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ออกไป ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66 เป็นต้นไป จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 22 ก.พ.นี้ สำหรับมาตราที่ได้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไป มีสาระสำคัญ ดังนี้ มาตรา 22 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว มาตรา 23 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว มาตรา 24 การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว เนื่องจากหน่วยงานระดับปฏิบัติยังไม่พร้อม โดยเฉพาะเรื่องจัดซื้ออุปกรณ์ที่ต้องใช้ ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่สมเหตุสมผล โดยเป็นเหตุผลที่พรรคฝ่ายค้านเห็นว่า ไม่เหมาะสม เพราะการออกพระราชกำหนดใด ๆ หากอยู่ในสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะต้องนำพระราชกำหนดดังกล่าวเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยเร่งด่วน  และการออกพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ต้องมีความจำเป็นเร่งด่วนใน 4 เรื่องคือ 
1 .ความปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 
3. ประโยชน์สาธารณะ 
4. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ  

ซึ่งการออกพระราชกำหนดดังกล่าวไม่เป็นเหตุด่วนที่ต้องดำเนินการแต่อย่างใด และการออกพระราชกำหนดดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการได้รับการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ อย่างรอบคอบโดยผ่านการพิจารณาทั้ง 3 วาระ และผ่านการพิจารณาของคณะ กมธ. จากทั้งสองสภาเพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพในร่างกายของประชาชน  สำหรับการออกพระราชกำหนดังกล่าว
ของคณะรัฐมนตรี ครั้งนี้ พรรคร่วมฝ่ายค้าน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลส่งพระราชกำหนดเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยเร่งด่วน เพื่อให้การรับรองก่อนการประกาศใช้ และจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต่อไป
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats