เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติฟิลิปปินส์ในการประชุมเต็มคณะ วาระที่ 2 ด้านเศรษฐกิจและการค้า ว่าที่ร้อยตรีสมชาติ  เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะวาระที่ 2 ด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยผู้แทนฯ ทั้ง 2 คน ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมซึ่งมีประเทศสมาชิก APPF จำนวน 19 ประเทศเข้าร่วมประชุมในวาระดังกล่าว โดยว่าที่ร้อยตรีสมชาติ  เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อ “การทบทวนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น” (Rethinking Critical Infrastructure) โดยได้กล่าวถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างและเศรษฐกิจทั่วโลก และแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจแม้แต่ประเทศที่มีโครงสร้างที่ดีก็ตาม สำหรับประเทศไทยนั้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยจึงเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการค้าและคมนาคม รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการลงทุนและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานมาโดยตลอด แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้การดำเนินการดังกล่าวของไทยหยุดชะงัก แต่ในภาพรวมแล้วยังคงเป็นไปในทิศทางบวก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูมิรัฐศาสตร์ จึงได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานยังมีความท้าทายหลายประการที่น่ากังวล เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ และการเติบโตอย่างไม่เท่าเทียม ดังนั้นประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงกฎและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค และด้านดิจิทัลให้ทันต่อเหตุการณ์ มีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และสนับสนุนให้สมาชิก APPF ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันเป็นกุญแจสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนาประเทศ และสามารถใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ทั้งนี้ โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลควรได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณจำนวนมากและมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการคลังของประเทศ

นางสาววิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ “การพัฒนาทุนมนุษย์และการเติบโตอย่างครอบคลุม” (Human Capital Development and Inclusive Growth) โดยได้กล่าวถึงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประชากรทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เศรษฐกิจส่วนใหญ่ทั่วโลกได้รับผลกระทบและทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ล่าช้าออกไป วิกฤติการณ์เหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการศึกษา และส่งผลให้เกิดความยากจนมากขึ้นซึ่งทำให้ประชาชนยากที่จะหลุดพ้นจากกับดักความยากจน การลงทุนโดยเฉพาะด้านทุนมนุษย์เป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับความไม่แน่นอนที่ดังกล่าว โดยควรพัฒนาคนให้มีความรู้และความสามารถซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาค สำหรับประเทศไทยเองนั้น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ยังคงจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงมากต่อเนื่องเป็นปีที่สาม อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ประเทศไทยมีความยากจนเพิ่มขึ้นและทำให้เห็นปัญหาด้านโครงสร้างในสังคมไทย และยังส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางสังคมและสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ดังนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด ได้กำหนดให้การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นหนึ่งในบริบทสำคัญของการพัฒนาประเทศ ประชาชนควรเข้าถึงการศึกษา การเงิน และสวัสดิการทางสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งสามารถสำเร็จได้โดยส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะอาชีพที่มีคุณภาพแก่เด็กและเยาวชนจากครอบครัวยากจน พร้อมทั้งพัฒนาหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมที่มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงในชีวิตให้ทุกคนได้รับความคุ้มครองทางสังคมอย่างเหมาะสมเพียงพอ และสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐสภาไทยยังได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงาน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานแก่ประชาชนทุกระดับ เพื่อส่งเสริมผลิตภาพทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ ทั้งนี้ รัฐสภาทุกประเทศไม่เฉพาะประเทศไทยต้องรับประกันว่างบประมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องทั่วถึงและเหมาะสม  

เครดิต : ข่าว กลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats