ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
งานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๖ (Sixth Chula ASEAN Week) : ก้าวต่อไปของอาเซียนในโลกที่เปลี่ยนแปลง และงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๓

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2560

วันพุธที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐสภา โดยศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันพระปกเกล้า และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) จัดงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๖ (Sixth Chula ASEAN Week) : ก้าวต่อไปของอาเซียนในโลกที่เปลี่ยนแปลง และงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๓ (Third Parliamentary ASEAN Community Forum) เป็นวันที่ ๒ โดยศ.เกียรติคุณ ดร. สุภางค์ จันทวานิช   ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวคำปราศรัยในหัวข้อ “การเคลื่อนย้ายแรงงานในประชาคมอาเซียน”
 
และในเวลา ๑๐.๔๕ นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนาทางวิชาการ "การพัฒนา ศักยภาพด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมในประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา สปป. ลาว และประเทศไทย"  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์  และอาจารย์ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย ดำเนินรายการโดย Mr.philasack Sihavong นิสิต ปริญญาโท  สปป.ลาว และนางสาววันรัตน์ ดวงสุธา นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ ๔โดยมีการนำเสนอว่าสืบเนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน การพัฒนาประเทศ เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพสถาปนิก ซึ่งต้องมีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ ทักษะภาษาอังกฤษ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการสื่อสาร รวมถึงการพัฒนาในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวการขนส่ง   การอุตสาหกรรมต่าง ๆ  เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในฐานะของ "สถาปนิกอาเซียน"  ที่ในอนาคตจะมีจำนวนมากขึ้น ภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutaul Recognition  Agreement :M R A ) ซึ่งมีการลงนามโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ตั้งแต่ วันที่ ๑๙ พ.ย. ๒๕๕๐ ณ ประเทศสิงคโปร์ ทำให้มาตรฐานคุณสมบัติของสถาปนิกท้องถิ่นที่จะไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นที่ยอมรับ และ จากการศึกษาโครงการออกแบบที่ผ่านมามีการนำเอาสถานที่ที่มีความสำคัญต่างๆ การขนส่ง  บ้านเรือนของประชาชนที่มีอยู่เดิม มาประยุกต์เข้ากับพื้นที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  เช่น  การพบปะพูดคุยกันในร้านกาแฟ ร้านอาหาร มาเป็นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เป็น การปรับภูมิทัศน์ ให้เหมาะกับการท่องเที่ยว และการใช้สอยในชีวิตประจำวัน และในอนาคตการออกแบบควรกำหนดให้สมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ สำหรับการเสวนาวิชาการในประเด็น "สื่อมวลชนอาเซียนในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง" ดร.เจษฎา ศิลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาวกีรติกร นาคสมภพ  ผู้ดำเนินรายการวิทยุ Good Morning Asean  เสนอว่าสื่อ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเชื่อมโยงโลกและภูมิภาคอาเซียน ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งกฎ ระเบียบและแนวโน้มของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สื่อสารมวลชนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมจากการบริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียมากกว่าผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์หรือวิทยุโทรทัศน์  ทำให้ตัวสื่อเองต้องมีการปรับโครงสร้างและทักษะในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ด้วยความหลากหลายและความรวดเร็วของข้อมูลที่มีมากมาย ทำให้ตัวสื่อเองต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลความถูกต้องก่อนที่จะนำเสนอออกไปให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูล จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ข่าวที่ตนนำเสนอ อีกทั้งสื่อเองต้องมีจริยธรรมในการคัดเลือกข่าวเพื่อนำเสนอด้วย ทั้งนี้งานเสวนาดังกล่าว ทั้งสองประเด็น เป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๖ (Sixth Chula ASEAN Week) : ก้าวต่อไปของอาเซียนในโลกที่เปลี่ยนแปลง และงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๓ (Third Parliamentary ASEAN Community Forum) จัดโดยศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันพระปกเกล้า และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ในการเสวนาดังกล่าว ได้รับความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ในการแปลภาษาจากสำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats