ค้นหา :
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
หน้าแรก
เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข้อมูลการประชุม
ข้อมูลเผยแพร่
ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสารบ้านเมือง
ข่าววิทยุรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ของที่ระลึก
แผนผังเว็บไซต์
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
   
ติดต่อ Call Center
ติดต่อ Call Center
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗
ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๕๕๗ (ฉบับแก้ไข ๒๕๕๘)
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
คลิกเข้าสู่เว็บไซต์รับฟังความคิดเห็น
คลิกเพื่อรับชมการถ่ายทอดสดฯ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)

Untitled Document
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 8 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันจันทร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑  พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้พิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการ คณะที่ ๖ เรื่อง กรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ ในส่วนของภาค ๒ ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง  หมวด ๗ การกระจายอำนาจ  และการปกครองท้องถิ่น  ที่มีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ  โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปในเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งสภาพปัญหาหลักในการกระจายอำนาจ มี ๕ ประเด็น ได้แก่
๑. ปัญหาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ขาดความชัดเจนในการดำเนินการ
๒. ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ
๓. ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น โดยส่วนกลางกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากเกินความจำเป็น ทำให้ขาดอิสระในการบริหารจัดการ
๔. ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างและรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีความสอดคล้อง เนื่องจากมีการกำหนดรูปแบบการบริหารจากส่วนกลาง รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี
๕. ปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน  โดยประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และยังไม่มีกลไกในการบังคับให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า หลักการสำคัญที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มี ๙ ประการ ได้แก่
๑. ต้องลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชน เน้นการกระจายอำนาจ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
๒. ต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นที่บังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในท้องถิ่น
๔. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีอิสระในการบริหารจัดการ เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
๕. ต้องปรับปรุงระบบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การหารายได้
๖. ส่วนกลางต้องกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่าที่จำเป็นตามกรอบกฎหมาย และตามมาตรฐานกลาง
๗. ปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยส่วนกลางต้องส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๘. เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีโครงสร้างและรูปแบบที่หลากหลาย และยึดโยงกับประชาชน มีศักยภาพในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อให้บริการแก่ประชาชน
๙. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยที่ประชุมได้นัดประชุมครั้งต่อไปในวันอังคารที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา  เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญคณะที่ ๑๐  ในส่วนของภาค ๔ หมวด ๒ การสร้างความปรองดอง ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ และในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เป็นการพิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญคณะที่ ๓  ในส่วนของภาค ๒ ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง  หมวด ๑ ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี หมวด๒ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด ๓ รัฐสภา และหมวด ๔ คณะรัฐมนตรี ที่มีนายสุจิต บุญบงการ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ  และในวันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ นายโภคิน พลกุล ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย จะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นและหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
 
download download Download all images download