ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ
กรอบการดำเนินงานสปช.
(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)
วันจันทร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์ รองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง รับยื่นหนังสือจากนายเรวัต เครือบุดดีมหาโชค ประธานสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับข้อเสนอปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑. คัดค้านการยุบหรือยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงจากประชาชน เนื่องจากก่อให้เกิดการกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และอาจเป็นเหตุชนวนของความขัดแย้งในระดับหมู่บ้านและระดับชาติ โดยการเสนอให้ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคนั้นเป็นการยกเลิกหรือล้มล้างตัดรอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการลงพระปรมาภิไธย โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งข้าราชการระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของบรรดาข้าราชการและประชาชนทั่วประเทศอย่างยิ่ง จึงไม่สมควรให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะดังกล่าวเพื่อร่วมกันรักษาความสงบสุขในบ้านเมืองให้ปกติ
๒. เสนอให้มีการยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ เนื่องจากมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สนองตอบความต้องการของประชาชนในระดับฐานรากแต่อย่างใดอันขัดต่อกฎหมายระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๓/๑ ขัดต่อหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และไม่มีธรรมภิบาล เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกแห่ง โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเงินโบนัสของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบรองรับตั้งแต่ปี ๒๕๕๔-๒๕๕๗ ส่งผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดินที่ต้องสูญเสียไปอย่างไร้ประโยชน์ ตามข้อมูลของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีการทุจริตในโครงการพัฒนาตั้งแต่ระดับการจัดทำแผนและงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ผิดกฎหมายมาโดยตลอด อีกทั้งยังปรากฏข้อมูลของผู้บริหารที่ใช้อิทธิพลในการข่มขู่ทำร้าย ข่มเหงข้าราชการและพนักงานอีกมากมาย จึงสมควรยกเลิกทั้งหมดและมุ่งกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กในระดับตำบลจึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์โดยตรงตามความต้องการของประชาชนที่แท้จริง