ค้นหา :
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
หน้าแรก
เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข้อมูลการประชุม
ข้อมูลเผยแพร่
ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสารบ้านเมือง
ข่าววิทยุรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ของที่ระลึก
แผนผังเว็บไซต์
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
   
ติดต่อ Call Center
ติดต่อ Call Center
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗
ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๕๕๗ (ฉบับแก้ไข ๒๕๕๘)
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
คลิกเข้าสู่เว็บไซต์รับฟังความคิดเห็น
คลิกเพื่อรับชมการถ่ายทอดสดฯ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)

Untitled Document
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
การนำเสนอเรื่อง "สู่อนาคตประเทศไทย ๒๕๗๕"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

จากนั้น เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายเจิมศักดิ์  ปิ่นทอง ดำเนินรายการในหัวข้อ "สู่อนาคตประเทศไทย ๒๕๗๕" โดยนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย นำเสนอวิสัยทัศน์และการออกแบบประเทศไทย ศตวรรษที่ ๒๑ ประเทศไทยต้องก้าวไปสู่ประเทศที่ดีขึ้น สปช. ต้องทำหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมาธิการ ทั้งในการให้เสนอแนะความคิดเห็นแก่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดกรอบแนวทางในการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเวลา ๕ ปี ๑๐ ปี ๒๐ ปี โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศของ สปช. จะออกมาในรูปแบบการทำงานของคณะกรรมการ คณะกรรมาธิการ ในการทำข้อเสนอการปฏิรูปเร่งด่วน (quick win) เพื่อเสนอครม. ต่อไป และข้อเสนอการปฏิรูปอื่นๆ เพื่อให้คนไทยเห็นเป้าหมายใหม่ร่วมกัน โดยยกตัวอย่างกำหนดกรอบวิสัยทัศน์ (vision) ในการพัฒนาประเทศในช่วงเสื่อมถอยและถดถอยของเกาหลี ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย ทั้งนี้สปช. ต้องกำหนดกรอบวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปประเทศไทยทั้งในระยะสั้น ระยะยาว มีองค์รวมในทุกมิติ และมีความเหมาะสมกับอัตลักษณ์ของความเป็นไทย สมเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของความเป็นชาติไทย ในทุกประเด็นทั้งในทางสังคม วัฒนธรรม  การเมือง สร้างความสมดุลในคนไทยเพื่อให้เป็นคนไทยที่สมบูรณ์ สร้างระบบคุณค่าใหม่จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
จากนั้น นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และะออกแบบประเทศไทย นำเสนอกรอบการจัดทำวิสัยทัศน์ประเทศไทย โดยนำเสนอการนำนวัตกรรมด้านดิจิตัลมาใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยยกตัวอย่างการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ประเทศไทยควรนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐควรใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นช่องทางในการสื่อสารกับประชาชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในสังคม
 
ต่อมานางสีลาภรณ์ บัวสาย โฆษกกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบประเทศไทย นำเสนอประเด็นไทยต้องปักหมุดประเทศในดินแดนสุวรรณภูมิและอาเซียน ไทยต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเพื่อนบ้านในสุวรรณภูมิ ไทยต้องก้าวไปเป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิและอาเซียน พัฒนาศักยภาพในสิ่งที่มีร่วมกันให้เกิดการพัฒนาอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม แรงงาน เกษตรกรรม รวมไปถึงการท่องเที่ยว เพื่อก้าวไปสู่ความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ในภาคเศรษฐกิจ สังคม และภาคความมั่นคง ประเทศไทยต้องขยับไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรไทย ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยไม่ทิ้งรากเหง้าของความเป็นไทย ลดความเหลื่อมล้ำทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้บนความหลากหลาย จัดการทรัพยากรทั้งด้านพลังงาน การศึกษา รวมทั้งการจัดระเบียบพรมแดนร่วมกันเพื่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่ง สปช. ต้องช่วยกันกำหนดเป้าหมายเหล่านี้ออกมาให้เป็นรูปธรรมให้ได้ โดยกำหนดเป็นแผนในระยะ ๕ ปี ๑๐ ปี และ ๒๐ ปี
download download Download all images download