ค้นหา :
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
หน้าแรก
เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข้อมูลการประชุม
ข้อมูลเผยแพร่
ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสารบ้านเมือง
ข่าววิทยุรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ของที่ระลึก
แผนผังเว็บไซต์
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
   
ติดต่อ Call Center
ติดต่อ Call Center
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗
ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๕๕๗ (ฉบับแก้ไข ๒๕๕๘)
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
คลิกเข้าสู่เว็บไซต์รับฟังความคิดเห็น
คลิกเพื่อรับชมการถ่ายทอดสดฯ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)

Untitled Document
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๘ วันพุธที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๘ วันพุธที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘ เริ่มขึ้นเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา โดยมีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ  เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง และส่งให้คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗) ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จแล้ว  เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว  ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมต่อจากเมื่อวานนี้  (๒๑ เมษายน ๒๕๕๘) ในภาค ๒ ผู้นำการเมืองที่ดีและระบบการเมืองที่ดี หมวด ๒ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อ โดยมีนายจำลอง โพธิ์สุข เป็นผู้อภิปรายเป็นคนแรก และพลเอก วัฒนา สรรพานิช อภิปรายเป็นคนสุดท้าย ซึ่งได้มีสมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นในภาค ๒ หมวด ๒ จำนวนทั้งสิ้น ๗๙ คน

                    ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาใน หมวด ๓ รัฐสภา ซึ่งมีจำนวน ๘ ส่วน ได้แก่

                              ๑. บททั่วไป

                              ๒. สภาผู้แทนราษฎร

                              ๓. วุฒิสภา

                              ๔. บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง

                              ๕. การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

                              ๖. การตราพระบัญญัติและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

                              ๗. การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

                              ๘. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

 
 นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำเสนอหลักการของหมวด ๓ รัฐสภา ต่อที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากนั้นประธานการประชุม ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยมีนางภัทรียา สุมะโน เป็นผู้อภิปรายเป็นคนแรก จนหลังจากเสร็จสิ้นการอภิปรายของนายมนูญ ศิริวรรณ แล้ว พลเอก      ยอดยุทธ บุญญาธิการ กรรมาธิการ ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกสำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตั้งปณิธานว่าจะทำงานเพื่อประเทศชาติด้วยความสุจริต เป็นกลาง เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง ทั้งนี้จะนำข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น และข้อสังเกตต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และสามารถแก้ปัญหาวิกฤตของชาติได้ตามที่ประชาชนคาดหวังไว้
 
จากนั้น นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้สั่งนัดประชุมต่อในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา เพื่อพิจารณาต่อในหมวดนี้ และสั่งปิดประชุมเวลา ๒๑.๓๖ นาฬิกา

         

 

download download Download all images download