|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างฯ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการ ครั้งที่ ๒๔ วันที่ ๒๓ ธ.ค.๕๗
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557
|
วันอังคารที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายสุจิต บุญบงการ รองประธานกรรมาธิการฯ คนที่สาม ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๓ ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๔ ในประเด็น ๒ ประเด็น ดังนี้
๑. ที่ประชุมได้พิจารณากรอบแนวคิดในการกระจายอำนาจเพิ่มเติม โดยเห็นว่า การกระจายอำนาจไม่ควรกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ควรกระจายอำนาจไปยังภาคประชาชน ภาคประชาสังคม องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) องค์กรที่แสวงหาผลกำไร และองค์กรสาธารณะต่างๆ ที่ทำเพื่อสังคม เพื่อให้องค์กรเหล่านี้เกิดการแข่งขันในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อสนับสนุนงานภาครัฐให้มากยิ่งขึ้น โดยภาคประชาชนเหล่านี้มีฐานะเป็นภาคีหุ้นส่วน ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯ เห็นควรบรรจุประเด็นการกระจายอำนาจดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมี ๓ กลไกในการสนับสนุนการกระจายอำนาจไปสู่ภาคประชาชน และประชาสังคม ได้แก่ กลไกทางกฎหมาย เพื่อรองรับการจัดทำบริการสาธารณะ กลไกทางการคลัง โดยการตั้งกองทุนสนับสนุนการจัดทำบริการสาธารณะ และ กลไกกำกับดูแลการจัดทำบริการสาธารณะ
จากนั้น นายสุจิต บุญบงการ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๓ ได้ชี้แจงความคืบหน้าประเด็นเรื่องการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง ทั้งนี้ ประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี และสมาชิกวุฒิสภานั้น ยังไม่ได้ข้อสรุปในวันนี้ ส่วนประเด็นที่ได้ข้อสรุปในวันนี้คือ การได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรี โดยที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เห็นควรให้คงไว้ซึ่งการได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีในการปกครองประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแบบเดิม แม้ว่าระบบเดิมจะมีปัญหา และมีความเสี่ยง แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่สามารถควบคุมและแก้ไขได้ น้อยกว่าระบบใหม่ที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองได้นำเสนอ ทั้งนี้ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม (modify parliamentary system) โดยเน้นให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่พรรคการเมืองที่เป็นระบบนายทุน เน้นหลักการถ่วงดุลอำนาจ โดยให้ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา เมื่อได้รับตำแหน่งแล้วต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และให้พรรคฝ่ายค้านดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการที่สำคัญ รวมทั้งทำให้การเลือกตั้งเป็นการสะท้อนคะแนนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง พรรคการเมืองที่เป็นเสียงข้างน้อยต้องมีบทบาทในรัฐสภา และไม่มีการกุมอำนาจจากพรรคที่มีคะแนนเสียงส่วนมากแบบเบ็ดเสร็จอย่างเช่นที่ผ่านมา |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|