-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แถลงข่าวสรุปผลการสัมมนา เรื่อง "การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 15 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ นายดิเรก ถึงฝั่ง รองประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง คนที่หนึ่ง พร้อมคณะกรรมาธิการ ร่วมกันแถลงข่าวสรุปประเด็นการสัมมนาและความเห็น จากการจัดสัมมนา เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและพรรคการเมืองเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้
๑. ประเด็นกลุ่มการเมือง ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มการเมือง แต่มีบางส่วนที่เห็นด้วยกับการกำหนดให้มีกลุ่มการเมืองในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีความเห็นว่า พรรคการเมืองมาจากกลุ่มนายทุน และพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ขาดอุดมการณ์ไม่สามารถทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนได้ แต่กลุ่มการเมืองเป็นผู้มีอุดมการณ์ทางการเมือง ควรสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้ง่ายขึ้นโดยตั้งเป็นกลุ่มการเมือง ทั้งนี้การกำหนดให้มีกลุ่มการเมืองในรัฐธรรมนูญต้องป้องกันและตรวจสอบการเข้ามาเป็นนอมินีของพรรคการเมืองกับกลุ่มการเมือง
๒.ประเด็นระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งแบบ Open list
๓.ที่มาของวุฒิสภา ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง
๔.ที่มาและคุณสมบัติคณะรัฐมนตรี ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดให้บุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนหนึ่งแสดงความเห็นว่านายกรัฐมนตรีจะมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ หากกรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤติให้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล ให้รัฐสภาเสนอนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกโดยใช้เสียงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
๕.การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร
๖.คณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง
๗.การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าร่างรัฐธรรมนูญต้องทำประชามติ แต่ถ้าร่างดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบก็ให้ดำเนินการยกร่างกันใหม่
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)