วันจันทร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ ศ าสตราจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการ ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวว่า ประเด็นในการเสนอคำขอแก้ไข ๑. ให้จัดลำดับหมวดในโครงสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ คือ ตัด ภาค ออกไป จัดเป็นหมวดๆ โดยจัดเป็นหมวด ๑ ทั่วไป หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ หมวด ๓ ประชาชนชาวไทย หมวด ๔ ฝ่ายนิติบัญญัติ หมวด ๕ ฝ่ายบริหาร หมวด ๖ ฝ่ายตุลาการ หมวด ๗ องค์กรตามรัฐธรรมนูญและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด ๘ ความมั่งคงของประเทศไทย หมวด ๙ การพัฒนาประเทศ หมวด ๑๐ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล ๒. การได้มาของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยกำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ส.ส. ๕๐๐ คน ประกอบด้วย ส.ส. เขตจำนวน ๔๐๐ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ๑๐๐ คน โดยการแบ่งเป็นเขตใหญ่ เขตละ ๒ - ๓ คน ส่วน ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดละ ๒ คน รวม ๑๕๔ คน ๓. ฝ่ายบริหาร ให้นายกรัฐมนตรีมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ๔. ฝ่ายตุลาการ กำหนดให้มีทั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง องค์กรภาคประชาชน ศาลทหาร ๕. ให้ กกต. เป็นผู้กำกับและจัดการเลือก อำนาจในการกำกับดูแลการเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้ง ทั้งมีอำนาจในการออกใบแดง และใบเหลือง และให้ตัดกจต. ออก ๖. ให้ตัดอำนาจฝ่ายบริหารในกระบวนการสกัดกั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา ๑๘๑ มาตรา ๑๘๒ ออก และเพิ่มเติมแนวทางการตรวจสอบถ่วงดุลตามมาตรา ๑๖๖ ๑๖๗ โดยให้เพิ่ม คณะกรรมการไต่สวนอิสระ มีองค์ประกอบ ๗ ท่าน ประกอบด้วย ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ประธานกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎร เลือกกันเอง ๑ คน ประธานกรรมาธิการวุฒิสภาเลือกกันเอง ๑ คน ให้ประธาน ปปช. เป็นประธานกรรมการ และหากคดีมีมูล ให้ส่งฟ้องศาลคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ๗. ให้มีกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ๘. จัดกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้บังคับที่เป็นผล ๙. การปฏิรูปประเทศให้บัญญัติไว้ในหมวดการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน รายละเอียดการปฏิรูปให้ไปบัญญ้ติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ๑๐. ให้มีการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีปรองดองภายใน ๑ ปี ตามที่กฎหมายบัญญัติ |