-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช และนายนิมิต สิทธิไตรย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าวประเด็นการปฏิรูปสื่อ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

 วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และนายนิมิต สิทธิไตรย์ สปช.จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันแถลงว่า ตามที่ ๔ องค์กรสื่อ ได้แก่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ออกแถลงการณ์ประกาศจุดยืนคัดค้านร่างพ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน หรือร่างพ.ร.บ.สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติว่าเป็นร่างกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการปฏิรูปสื่อและเป็นการควบคุมสื่อทั้งระบบอย่างเบ็ดเสร็จโดยและรัฐและทุนนั้น เป็นการแถลงที่ขาดเหตุผลและไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์แบบง่ายๆ อีกทั้งไม่ได้ให้ข้อเสนอว่าการปฏิรูปสื่อทั้งระบบจะทำอย่างไร

 นายบุญเลิศกล่าวว่า หลักการใหญ่ในร่างพ.ร.บ.สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติที่ตนทั้งสองให้ความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ ๑. การมีองค์กรกำกับจริยธรรมในระดับชาติ ระดับภาคและระดับจังหวัดเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ใช่ให้มีแต่ส่วนกลาง ๒. ให้มีตัวแทนของสื่อภูมิภาคเข้าร่วมเป็นกรรมการในสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติในจำนวนที่ไม่น้อยเกินไป ๓. คนทำสื่อควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมสวัสดิการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ซึ่งการได้รับสวัสดิการเป็นรายละเอียดที่ต้องกำหนดกันต่อไปว่าหมายถึงอะไรบ้าง ๔.การมีกองทุนพัฒนาวิชาชีพสื่อที่กฎหมายจะเขียนให้จัดสรรเงินมาให้นั้น ไม่ได้ทำให้สื่อถูกครอบงำหรือขาดความเป็นอิสระ เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่รัฐบาลเอามาให้สื่อแต่ละแห่งแต่ละสำนัก

นายนิมิตกล่าวว่า สื่อท้องถิ่นควรได้รับโอกาสและมีบทบาทในการปฏิรูปสื่อ เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีแต่กรุงเทพฯ อีกทั้งข่าวสารเรื่องราวต่างๆก็เกิดทั่วประเทศ สื่อมวลชนในแต่ละจังหวัดก็ทำหน้าที่รายงานข่าวสารผ่านสื่อเพื่อรายงานต่อสาธารณชน ดังนั้นในคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวฃชนแห่งชาติต้องมีสื่อท้องถิ่นเข้าร่วมให้มากขึ้น นอกจากนี้ ควรมีสภาวิชาชีพสื่อในภาคต่างๆและระดับจังหวัดเพื่อให้สื่อท้องถิ่นมีกลไกกำกับจริยธรรมกันเอง ที่สำคัญในการรับฟังความเห็นของสื่อท้องถิ่น ก็ต้องการกำกับกันเองในระดับจังหวัดและภูมิภาค โดยสื่อท้องถิ่นต้องการได้รับการยอมรับจากสังคมว่า เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ หากออกกฎหมายแล้วสื่อท้องถิ่นถูกมองข้ามก็เชื่อว่า การปฏิรูปสื่อจะประสบความล้มเหลวอย่างแน่นอน “ผมจะเป็นตัวแทนของพี่น้องสื่อมวลชนในท้องถิ่นทั่วประเทศในการผลักดันและขับเคลื่อนให้มีกฏหมายจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนในแต่ละระดับ โดยคำนึงถึงสื่อท้องถิ่นที่ได้ฝากให้ผมมาดูแลเรื่องนี้” นายนิมิตกล่าว

download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)