FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
คณะผู้แทนรัฐสภาไทยร่วมอภิปรายในการประชุมย่อย ในการประชุมภาครัฐสภาว่าด้วยการสานเสวนาระหว่างศาสนา (Parliamentary Conference on Interfaith Dialogue) ณ เมืองมาร์ราเกช ราชอาณาจักรโมร็อกโก เป็นวันที่สอง

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 20 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย พร้อมด้วยผู้แทนรัฐสภาไทยประกอบด้วย พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง สมาชิกวุฒิสภา และนางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมภาครัฐสภาว่าด้วยการสานเสวนาระหว่างศาสนา (Parliamentary Conference on Interfaith Dialogue) ระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การประชุม Palais des Congrès เมืองมาร์ราเกช ราชอาณาจักรโมร็อกโก โดยมีนางสาวเพ็ญแข อินทรสุวรรณ อุปทูตฯ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต เป็นที่ปรึกษาคณะผู้แทนรัฐสภาไทย

การประชุมย่อย
1. การอภิปรายย่อย แทร็ค 2 ด้านสันติภาพและการให้ทุกคนมีส่วนร่วม หัวข้อ “สมาชิกรัฐสภาจะสามารถให้ความร่วมมือกับชุมชนทางศาสนาและองค์กรที่อิงความเชื่อเพื่อขับเคลื่อนสังคมให้เกิดความพอประมาณ ความสมัครสมานสามัคคี และการให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้นได้อย่างไร”  (How can parliamentarians cooperate with religious communities, and faith-based organizations to mobilize society for greater moderation, solidarity and inclusion?) นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ร่วมอภิปรายในหัวข้อนี้โดยเสนอหลักการ “บวร” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างผู้นำทางศาสนา ผู้นำด้านการเมือง  และประชาชนในชุมชน โดยในส่วนของภาคการเมืองคือรัฐบาลและรัฐสภาจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งประชาชนในชุมชนและผู้นำทางศาสนาซึ่งทั้งหมดต่างสนับสนุนค้ำจุนซึ่งกันและกันไม่สามารถแยกจากกันได้ นางสาววิบูลย์ลักษณ์ฯ ได้ยกตัวอย่างในวิธีปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับองค์กรที่อิงความเชื่อใน 6 ชุมชนซึ่งตั้งอยู่ใกล้วัดประยุรวงศา ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่าชุมชนกระดีจีน เมื่อ 200 ปีที่แล้วมีพ่อค้าชาวต่างชาติล่องเรือและมาจอดเรือ ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อตรวจสภาพเรือก่อนที่จะล่องเรือต่อไปอีกจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีการพักค้าง พ่อค้าต่างชาติเหล่านี้จึงได้นำเงินจากการขายสินค้ามาบริจาคเพื่อสร้างวัด ศาลเจ้า โบสถ์และมัสยิด ทั้งนี้ตามความเชื่อของผู้สร้าง เมื่อเร็ว ๆ นี้เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาได้นำหลักบวรมาใช้กับ 6 ชุมชนที่ตั้งอยู่รอบวัดโดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสมาชิกรัฐสภา โดยหลักการ “บวร” นี้ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้นในหลายมิติเช่นด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม จิตวิญญาณและธรรมชาติ ในส่วนของบทบาทของสมาชิกรัฐสภานั้นคือการส่งเสริมและสนับสนุนความสามัคคีและความปรองดองให้เกิดขึ้นใน ชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศดังตัวอย่างของชุมชนกระดีจีนที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่นในประเทศเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนทางศาสนาและองค์กรที่อิงความเชื่อหรือ FBOs

2. การอภิปรายย่อย แทร็ค 1 ด้านหลักนิติธรรม หัวข้อ “การทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างหลักนิติธรรมกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาและความเชื่อมีความชัดเจนเพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นรัฐและความเป็นพลเมือง” (Clarifying the relationship between the rule of law and freedom of religion or belief to preserve statehood and citizenship) โดยพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง สมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมอภิปรายในหัวข้อนี้ว่า สังคมประกอบด้วยประชาชนผู้ซึ่งมีความเชื่อศาสนา วัฒนธรรม และค่านิยม ทั้งนี้เราไม่อาจปฏิเสธว่าการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประชาชน การเมืองเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรหรือการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ ทุกสังคมควรจะต้องมีหลักนิติธรรม เพื่อเป็นหลักประกันว่า ประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน หากทุกสังคมมีหลักนิติธรรมจะเป็นการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดหลักนิติธรรมไว้อย่างชัดเจนเพื่อเป็นหลักประกันถึงความเสมอภาคทางกฎหมายของประชาชนทุกคน นอกจากนี้ เสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน แม้ว่ามีการเสนอแนวคิดที่จะให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติอยู่หลายครั้ง แต่รัฐธรรมนูญก็มิได้ระบุศาสนาประจำชาติไว้ มีเพียงบัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นพุทธศาสนิกชน และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนาด้วย บทบาทสำคัญของรัฐสภาคือการตรวจสอบรัฐบาล สมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้บัญญัติกฎหมายเองนั้นจะต้องทำหน้าที่ภายใต้หลักนิติธรรม ยิ่งกว่านั้นในประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐ สิทธิของประชาชนจะได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยกฎหมายสูงสุดของประเทศ 

3.  การอภิปรายย่อย แทร็ค 2 ด้านสันติภาพและการให้ทุกคนมีส่วนร่วม หัวข้อ “ ขอบเขตอำนาจที่แตกต่างกัน เป้าหมายร่วมกัน : ผู้มีบทบาททางศาสนาและสมาชิกรัฐสภาเป็นพันธมิตรในการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศและการมีส่วนร่วมของเยาวชน (Different mandates, common goals: Religious actors and parliamentarians as allies for promoting gender equality and youth participation) พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ได้อภิปรายในหัวข้อนี้ว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศและดำเนินการเพื่อเพิ่มความเท่าเทียมทางเพศในแวดวงการเมือง สนับสนุนให้สตรีมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยบัญญัติความเท่าเทียมทางเพศไว้ในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 เช่น มาตรา 90 พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จะต้องคํานึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง

อย่างไรก็ตาม หนทางการบรรลุเป้าหมายความเสมอภาคระหว่างเพศยังอีกยาวไกล ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2562 มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี ร้อยละ 16.6 และสมาชิกวุฒิสภาสตรีร้อยละ 10.4 ซึ่งมีสัญญาณที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความคืบหน้าของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงหลังการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.2 พัฒนากระบวนการจัดทำงบประมาณของส่วนราชการโดยบัญญัติมาตรา 71 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญให้รัฐพึงสงเคราะห์เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี และจะคุ้มครองบุคคลดังกล่าวจากการใช้ความรุนแรงหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ส่วนนี้ยังมี Gender Responsive Budgeting หรือ GRB หรือการจัดทำงบประมาณโดยคำนึงถึงมิติทางเพศ

นอกจากนี้ เพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ การส่งเสริมอำนาจทางการเมืองของผู้หญิงเป็นสิ่งสำคัญ รัฐสภาไทยกำลังพยายามทำลายเพดานกระจกและลดอคติทางเพศในสังคมไทย

เครดิต : ภาพและข่าว โดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats