วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายกฤช ศิลปชัย รองประธานคณะ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนที่เจ็ด รับยื่นหนังสือจากนายสาธิต ทวีผล สส.จังหวัดลพบุรี พรรคก้าวไกล และนายณัฐพล มั่นใจ ตัวแทนผู้เดือดร้อน เรื่อง ขอให้ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล อ.ลำสนธิ และ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี

นายสาธิต ทวีผล กล่าวว่า ได้รับเรื่องเดือดร้อนของประชาชนใน จ.ลพบุรี จึงได้นำความเดือดร้อนของชาวบ้านมาร้องเรียนต่อคณะ กมธ. เพื่อให้ติดตามประเด็นดังกล่าว เพราะปัญหาเกี่ยวกับเอกสารสิทธิที่ดินทำกินของประชาชนใน จ.ลพบุรี ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ไม่มีเอกสิทธิ เนื่องจากหน่วยงานราชการมีการประกาศเขตพื้นที่หวงห้ามโดยไม่ได้มีการตรวจสอบความจริงเสียก่อนว่ามีการประกาศแนวเขตหวงห้ามทับช้อนกับที่ดินทำกินของราษฎร และที่ดินหวงห้ามของหน่วยงานอื่น ๆ จนเกิดปัญหาที่ดินทับซ้อนหลายหน่วยงานขึ้น ทำให้การแก้ไขปัญหาต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง จนก่อให้เกิดความยุ่งยาก ทั้งนี้ ความเป็นมาของปัญหาของที่ดินทำกินของชาวบ้านเริ่มเมื่อปี 2482 รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เห็นสมควรจัดตั้ง "นิคมกสิกร" ขึ้นใน จ.ลพบุรี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการบูรณะและจัดสร้างเมืองใหม่ลพบุรี และเพื่อให้ประชาชนตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพในนิคมกสิกรแห่งนี้ เป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองด้วย ต่อมาได้โอนมาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมประชาสงเคราะห์เมื่อปลายปี 2483 หลังจากนั้น นิคมฯ มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับและเปลี่ยนชื่อจากนิคมกสิกร จ.ลพบุรี เป็นนิคมสร้างตนเอง จ.ลพบุรี เพื่อประโยชน์ในการประชาสงเคราะห์ ในการดำเนินงานจัดที่ดินเพื่อการครองชีพให้กับประชาชน ต่อมาปี 2485 ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2485 โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า "สมควรให้ประชาชนชาวไทยมีที่ดินเพื่อการครองชีพ" จึงมีพระบรมราชโองการให้ตรา พ.ร.บ.ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร และความในมาตรา 6 นิคมสร้างตนเองใน จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี มีพื้นที่ประมาณ 2,050,000 ไร่ตามแผนที่แนบท้าย พ.ร.ก.กำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ อ.เมืองสระบุรี อ.เสาไห้ อ.แก่งคอย อ.หนองโดน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี อ.เมืองลพบุรี อ.โคกสำโรง อ.บ้านหมี่ และอ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี พ.ศ. 2483 ในขณะนั้นประชาชนจำนวนมากจากพื้นที่ใกล้เคียงที่ทราบข่าวว่าได้มีการจัดที่ดินทำกินขึ้นจึงได้เข้าหักร้างถางป่าบุกเบิกจับจองเป็นของตนเอง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของกรมประชาสงเคราะห์มีจำนวนน้อยการดำเนินงานจัดแบ่งที่ดินจึงเป็นไปด้วยความล่าช้าไม่ทันกับความต้องการของประชาชน จึงได้แต่เฝ้ารอ ซึ่งในระหว่างที่รอนั้นประชาชนก็ได้ทำกินในที่ดินเรื่อยมาจนถึงปี 2502 ความเดือดร้อนและความยุ่งยากก็เริ่มเข้ามาเนื่องจากได้มีการออกกฎกระทรวงฉบับที่ 56 ประกาศให้ป่าไชยบาดาลในท้องที่ ต.หนองยายโต๊ะ ต.บัวชุม ต.มะกอกหวาน และ ต.มะนาวหวาน อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นป่าสงวน และได้มีการออกกฎกระทรวงฉบับที่ 66 ประกาศให้ป่าซับลังกาในท้องที่ ต.หนองยายโต๊ะ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นป่าสงวน และได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นที่สำหรับใช้ราชการกรมการปศุสัตว์ (ที่ด่านกักสัตว์) ทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตดังกล่าวเดือดร้อน และได้เรียกร้องสิทธิมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสรุปปัญหาและความต้องการเสนอต่อประธานคณะ กมธ.การที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุดที่แล้ว แต่เดิมพื้นที่นิคมสหกรณ์ชัยบาดาล ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2511 จำนวน 395,430 ไร่ ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าชัยบาดาลซึ่งหนังสืออนุญาตได้หมดอายุเมื่อปี 2561 ปัจจุบันกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้พิจารณาไม่ต่ออายุหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ พร้อมทั้งได้ประสานแจ้งให้กรมป่าไม้ทราบแล้ว เครือข่ายสหกรณ์ 13 นิคมฯ 14 ป่า ที่หนังสือสัญญาหมดอายุ ไม่ประสงค์เข้าสู่โครงการการจัดการที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลโครงการ คทช. เนื่องจากพื้นที่นิคมสหกรณ์ไม่ได้เป็นพื้นที่ป่า แต่เป็นชุมชนมีสิ่งปลูกสร้าง ถนน โรงเรียน และหน่วยงานภาครัฐ มีการพัฒนาที่ดิน พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตแล้ว จึงเสนอขอให้นำพื้นที่ของสหกรณ์นิคมออกจากโครงการ คทช. แล้วนำมาจัดสรรตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511  จึงขอให้คณะ กมธ. แก้ไขเพิกถอนแนวเขตต่าง ๆ ที่ทับซ้อนที่ดินทำกินของราษฎรและจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นมาใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2531 และออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนต่อไป

นายกฤช ศิลปชัย กล่าวเสริมว่า จะนำเรื่องนี้นี้เข้าพิจารณาในชั้นของคณะ กมธ. โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงและให้ข้อมูล เนื่องจากคณะ กมธ. การที่ดินฯ ชุดที่ 25 ได้เคยมีการประชุมและมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งที่ประชุมในวันนั้นทุกฝ่ายมีมติเห็นชอบร่วมกัน และมีทิศทางไปในทางเดียวกัน แต่พอเข้าสู่การปฏิบัติจริงไม่ได้เป็นไปตามมติ คณะ กมธ.  ชุดปัจจุบันจะเร่งดำเนินการสอบหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายต่อไป

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats