-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ผลการประชุมกมธ.ยกร่างรธน. วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 13 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

ผลการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๔ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑                   
 นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ นำเสนอรายงานความคืบหน้าในการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้

เรื่องที่หนึ่ง การตั้งคณะอนุกรรมาธิการด้านสารัตถะ เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑๐ คณะ

          ๑.  คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๑ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๑ พระมหากษัตริย์และประชาชน หมวด ๒ ประชาชน
ส่วนที่ ๑ ความเป็นพลเมือง และส่วนที่ ๓ หน้าที่พลเมือง โดยมีนายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
          ๒. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๒ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๑ พระมหากษัตริย์และประชาชน หมวด ๒ ประชาชน
ส่วนที่ ๒ สิทธิ เสรีภาพของพลเมือง ส่วนที่ ๔ การมีส่วนร่วมทางการเมือง และส่วนที่ ๕ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
โดยมีนายปกรณ์ ปรียากร เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
          ๓. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๓ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๒ ผู้นำทางการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด ๑
ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี หมวด ๒ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด ๓ รัฐสภา และหมวด ๔
คณะรัฐมนตรี โดยมีนายสุจิต บุญบงการ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
          ๔. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๔ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๒ ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด ๕
การคลังและงบประมาณของรัฐ โดยมีนายจรัส สุวรรณมาลา เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
          ๕. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๕ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๒ ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด ๖
ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน โดยมีนายปรีชา วัชราภัย เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
          ๖.  คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๖ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๒ ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด ๗
การกระจายอำนาจ และการปกครองท้องถิ่น โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์
เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
         ๗. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๗ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับภาค ๓ นิติธรรม ศาลและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
หมวด ๑ ศาลและกระบวนการยุติธรรม โดยมีนายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
         ๘. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๘ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๓ นิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
หมวด ๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรอิสระ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
โดยมีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
         ๙. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๙ โดยให้ คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๔ การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง หมวด ๑
การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม โดยมีนายชูชัย ศุภวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
        ๑๐. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ ๑๐ โดยให้คณะอนุกรรมาธิการคณะนี้
มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ ภาค ๔ การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง หมวด ๒
การสร้างความปรองดอง โดยมีนายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ

เรื่องที่สอง การตั้งคณะอนุกรรมาธิการด้านกระบวนการ จำนวน ๒ คณะ

                    ๑. คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และจัดทำรัฐธรรมนูญเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
ดยมีนายมีชัย วีระไวทยะ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ
                    ๒. คณะอนุกรรมาธิการจัดทำข้อเสนอแนะในการตรากฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
โดยมีนายเจษฎ์ โทณะวณิก เป็นประธานอนุกรรมาธิการ

เรื่องอื่น ๆ

          คณะกรรมาธิการฯ กำหนดให้มีการประชุมครั้งต่อไปวันศุกร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
          ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาคณะ ที่ ๓ ภาค ๒ หมวด ๑ ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี หมวด ๒
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด ๓ รัฐสภา และหมวด ๔ คณะรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว และจะมีการสรุปผลทั้งหมด
ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป หลังจากนั้นจะนำส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเป็นลำดับต่อไป

 

   ข้อมูลโดย ทีมงานโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

                                                  เผยแพร่โดย กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์

 

download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)