-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« สิงหาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ที่ปรึกษาและโฆษก กมธ.ยกร่าง รธน. แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ พลเอกเลิศรัตน์
รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการฯ เพื่อ
รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพรรคการเมือง และกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง คือ
พรรคชาติพัฒนาและพลังชล โดยนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
ได้เสนอความเห็น ดังนี้ 
๑. รัฐธรรมนูญควรกะทัดรัดและไม่ควรมีข้อความที่ยากต่อการตีความ
๒. ควรเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ มีความเป็นกลาง มีความยืดหยุ่น และมีความทันสมัย สามารถดำเนินการได้ทันเหตุการณ์และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
๓. มีประเด็นหลักที่สำคัญด้านการเมืองที่เกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)
คือ จำนวน ส.ส. ที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๕๐ นั้นมีความเหมาะสม
๔. ไม่ควรกำหนดเขตเลือกตั้งให้ใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้ ส.ส. ไม่สามารถติดต่อกับประชาชนในพื้นที่ได้
๕. กกต. ควรทำงานเชิงรุก
๖. ควรกำหนดคุณสมบัตของส.ส. บัญชีรายชื่อ ให้รัดกุมทั้งคุณสมบัติทางการศึกษา และอายุ
๗. ควรให้ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง
๘. ควรกำหนดให้ ส.ส. สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ 
๙. ควรกำหนดให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง
๑๐. ส.ว.ที่มาจากระบบสรรหา ควรกำหนดขั้นตอนในการสรรหาให้เป็นธรรมและกำหนดคุณสมบัติที่มาของส.ว.
ทั้งด้านการศึกษา และอายุ
๑๑. ควรลดอำนาจ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งให้น้อยลง
๑๒. ควรกำหนดบทลงโทษนักการเมืองและข้าราชการให้มีความเท่าเทียมกัน
๑๓. ควรจัดตั้งศาลพิเศษในกรณีที่นักการเมืองและข้าราชการทำการทุจริตคอรัปชั่น 
๑๔. ผู้ที่จะเป็นรมต. ต้องไม่เป็น ส.ส. และต้องลาออกจากเป็น ส.ส.
๑๕. ควรกำหนดอายุของส.ส.คือไม่น้อยกว่า ๔๐ ปี
๑๖. ควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง เว้นมีเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองสามารถตั้งนายกรัฐมนตรี
เฉพาะกาลได้ โดยใช้เสียง ๓ ใน ๔ ของส.ส.
๑๗. ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเลือกจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน
เช่น จังหวัดสงขลา จังหวัดเชียงใหม่ และควรจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งบุคลากร ให้เพียงพอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๑๘. เรื่องแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ควรส่งเสริมเรื่องการกีฬาเพื่อพัฒนาคนในชาติให้มีความเข้มแข็ง
       สำหรับพรรคพลังชลซึ่ง นายสันต์ศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ทีปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังชล เป็นผู้แทนในการนำเสนอความคิดเห็น ดังนี้ 
๑. ส.ส. ควรสังกัดพรรคการเมือง รวมทั้งควรมีอิสระในการลงมติหรือเสนอกฎหมาย
๒. สำหรับรัฐธรรมนูญปี ๕๐ มาตรา ๒๓๗ นั้น พรรคไม่เห็นด้วยในการตัดสิทธินักการเมือง ๕ ปี จากการกระทำผิด
ในการเลือกตั้ง
๓. ควรกำหนดเขตเลือกตั้งเพื่อให้ส.ส. สามารถดูแลคนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง
๔. ควรกำหนดบทลงโทษให้มีความรุนแรงในกรณีที่ส.ส.มีการซื้อสิทธิขายเสียง
๕. ควรให้ กกต.ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
๖. ควรให้องค์กรยุติธรรมเป็นผู้ดูแลการสืบสวนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทำผิดและสามารถให้ผู้กระทำผิดอุทธรณ์ได้
๗. ควรแยกอำนาจบริหารและนิติบัญญัติออกจากกันอย่างเด็ดขาดเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ
    ทั้งนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ครั้งต่อไปในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พ.ย. ๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)