|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
ที่ปรึกษาและโฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญแถลงข่าวภายหลังการประชุมกมธ. ประจำวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 27 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557
|
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องแถลงข่าว อาคารรัฐสภา ๑ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ โดยที่ประชุมได้เชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมหารือและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในประเด็น จะยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้สังคมไทยมีอนาคตที่ดีเพื่อส่งมอบให้ลูกหลานได้อย่างไร"ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ให้ข้อเสนอแนะความเห็นที่เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ผูกพันต่อพรรคประชาธิปัตย์ ต่อที่ประชุมในประเด็นดังนี้คือ
๑.การยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ หลังจากมีรัฐบาลปัจจุบันแล้วจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการปกครองที่ยั่งยืน ดังนั้น ต้องลดทอนอำนาจทางการเมือง และเพิ่มอำนาจให้ประชาชน การจัดทำรัฐธรรมนูญต้องมีความยั่งยืนและต้องได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในหมู่ประชาชน ซึ่งการทำประชามติเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะปกป้องคุ้มครองให้รัฐธรรมนูญมีความยั่งยืน พร้อมตั้งคำถามว่าควรจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมเพราะจะทำให้รัฐธรรมนูญสามารถขับเคลื่อนไปได้และไม่ควรห่วงว่าจะมีการแทรกแซงจากหน่วยงานต่าง ๆ
๒.หัวใจสำคัญของการถ่วงดุลคือต้องให้สังคมและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยรัฐธรรมนูญที่จะจัดทำนั้นต้องมีความก้าวหน้า ที่ไม่มีบทบัญญัติใดลดทอนสิทธิเสรีภาพหรือการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมไปถึงการได้ผู้บริหารประเทศและทิศทางการบริหารประเทศที่ยึดโยงกับประชาชนตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา กระจายอำนาจไปสู่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับจังหวัด
๓.รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องแก้ปัญหาการเมืองในอดีตให้ตรงจุด ซึ่งปัญหาที่รุนแรงที่สุดในระบบการเมืองที่ผ่านมา คือการที่นักการเมืองใช้อำนาจในทางมิชอบ มีการทุจริตคอรัปชั่น ใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบราชการ สื่อมวลชน รวมไปถึงการใช้อำนาจรัฐข่มขู่คุกคามผู้เห็นต่าง ปิดกั้นการตรวจสอบโดยรัฐสภา และองค์กรอื่นๆ จึงนำไปสู่การเมืองบนท้องถนน จุดสำคัญที่ต้องแก้ไขคือต้องเพิ่มอำนาจในการตรวจสอบถ่วงดุลให้มากขึ้นเพื่อให้ฝ่ายค้านสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สภาเป็นหลักในการตรวจสอบอำนาจรัฐบาล รัฐมนตรีควรตอบกระทู้ถามด้วยตนเอง สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้งตามรายอาชีพ รวมทั้งเพิ่มอำนาจให้สมาชิกวุฒิสภาในการเสนอกฎหมายได้ สำหรับองค์กรอิสระควรให้พิจารณาเฉพาะเรื่องที่สำคัญและกำหนดเวลาไว้ให้ชัดเจนโดยเฉพาะการตรวจสอบคดีที่สำคัญ
นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงการทำโครงการประชานิยมว่าไม่ควรให้พรรคการเมืองกำหนดประชานิยมเพื่อนำมาใช้ในการหาเสียง และเนื้อหาในการหาเสียงควรมีความชัดเจนครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ และได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าการแบ่งแยกอำนาจนั้นควรแบ่งแยกกันโดยเด็ดขาด ควรให้มีรัฐบาลผสมและให้พรรคฝ่ายค้านเข้าร่วมเป็นรัฐบาลได้โดยใช้เสียง ๒ ใน ๓ หรือ ๓ ใน ๔ อีกทั้งควรมีการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันพรรคการเมืองเพื่อให้มีประสิทธิภาพชัดเจน ส่วนเรื่องการสร้างการนิรโทษกรรมนั้นไม่ควรกระทำได้ทุกกรณี โดยเห็นว่าการทำผิดทางอาญาและการละเมิดทรัพย์สินตามหลักสากล ไม่สามารถนิรโทษกรรมได้ |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|