-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
คณะผู้แถลงข่าวของสภาปฏิรูปแห่งชาติร่วมกันแถลงข่าวถึงภารกิจของสภาปฏิรูปแห่งชาติในปี ๒๕๕๘

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันจันทร์ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายอลงกรณ์ พลบุตร นายวันชัย สอนศิริ และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ในฐานะคณะผู้แถลงข่าวของสภาปฏิรูปแห่งชาติ แถลงถึงภารกิจของสภาปฏิรูปแห่งชาติในปี ๒๕๕๘ ซึ่งถือเป็นปีแห่งการปฏิรูปและเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดภารกิจสำคัญของสภาปฏิรูปแห่งชาติไว้  ๒ เรื่องได้แก่
๑. เรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังยกร่างอยู่ในขณะนี้ ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด และขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม
๒. ต้องปฏิรูปประเทศเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางโครงสร้าง และระบบ โดยผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนใน ๔ ด้าน  ดังต่อไปนี้
 
(๑) ภาครัฐ โดยกำหนดการจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศ ดำเนินการจัดการ workshop การจัดทำวิสัยทัศน์ฯ เป็นครั้งที่ ๒ เพื่อจัดทำกรอบพิมพ์เขียวในการปฏิรูปประเทศทั้ง ๑๘ ด้าน นอกจากนั้นแล้วยังผลักดันเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในการปฏฺิรูปประเทศ โดยแบ่งเป็น การปฏิรูปเร่งด่วน (quick win)  การปฏิรูปภายใน ๑ ปี และการปฏิรูปอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังยกร่างอยู่ในขณะนี้ ต้องเป็นโครงสร้างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง มั่นคง ที่เหมาะสมกับสังคม
- รัฐธรรมนูญจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น การประพฤติมิชอบในวงราชการอย่างชัดเจน และมีความเป็นรูปธรรม
-  รัฐธรรมนูญต้องบัญญัติมาตรการในการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบไว้อย่างชัดเจน มีระบบตรวจสอบการใช้งบประมาณ และบุคคลที่ทุจริตคอรัปชั่นจะต้องไม่มีสิทธิในทางการเมืองอีกต่อไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้มีความชัดเจน และให้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรม
- ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องปฏฺิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ ปราศจากการครอบงำจากนักการเมืองและระบบทุนนิยม
- ปฏิรูปกระบวนการตำรวจ ระบบตำรวจ และกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้กระบวนการในการปฏิรูปจะเป็นไปอย่างมีนัยยะสำคัญ และเป็นไปตามที่คณะกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอต่อสื่อมวลชน  ประชาชนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าว ภายใน ๓ เดือนนับจากนี้
- กระจายอำนาจรัฐ โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
- การใช้งบประมาณของรัฐต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลมากที่สุด ต้องเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า ป้องกันการใช้งบประมาณเพื่อโครงการประชานิยม มีระบบตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างเข้มแข็ง
- ผลักดันให้เกิดสมัชชาคุณธรรม จริยธรรม และระบบธรรมาภิบาล
 
(๒) ภาคเอกชน มีประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเอกชน และระบบเศรษฐกิจ ๔ ประเด็นคือ
- กำหนดยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของประเทศไว้อย่างชัดเจน  เพื่อขับเคลื่อนภาคเอกชนให้มีการแข่งขันอย่างมีมาตรฐาน
- ยกระดับภาคเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ และการบริการ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้
- การแข่งขันของภาคเศรษฐกิจต้องมีความเข้มงวด และยึดโยงกับกฎมาย ปรับปรุงกฎหมายการแข่งขันให้มีความเป็นธรรมและทันสมัย
- ผลักดันให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพให้มาช่วยพัฒนาประเทศ
 
(๓) ภาคประชาสังคม
(๔) ภาคการเมือง
 
สำหรับการปฏิรูปเร่งด่วน (quick win) และการปฏิรูปภายใน ๑ ปีนั้น จะผ่านการพิจารณาในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติที่มีขึ้นในทุกวันจันทร์และอังคารของทุกสัปดาห์ โดยในวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๘  จะเป็นการพิจารณาการปฏฺิรูปเร่งด่วน ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมโซลาร์รูฟ และการคิดค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามจริงเป็นวินาที ฯ 
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)