-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
รองประธานกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแถลงถึงผลการเข้าพบอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อขอคำปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแนวทางการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างความปรองดอง

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 12 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๒.๒๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ นายบุญเลิศ     คชายุทธเดช รองประธานกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (คศป.) ได้แถลงถึงผลจากการเข้าพบนายวิทยา  สุริยะวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อขอคำปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแนวทางในการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างความปรองดอง เนื่องด้วยทางคศป. กำลังจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมายว่าด้วยแนวทางในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้ควบคู่กับการปฏิรูปด้วยกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับผลกระทบจากการชุมนุมที่มีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมืองในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา คือกลุ่มผู้ต้องขังที่มีคดีเกี่ยวข้องกับการชุมนุม ซึ่งทาง คศป. เล็งเห็นว่าควรมีการวางหลักเกณฑ์ กำหนดขอบเขตในการแยกแยะและปฏิบัติต่อคดีที่เป็นอาชญากรรมในเนื้อที่ กับคดีที่เกิดจากเหตุจูงใจทางการเมือง ซึ่งจะทำให้เห็นว่าในแต่ละกรณีควรมีวิธีการและทางเลือกในการอำนวยความยุติธรรมอย่างไรได้บ้างที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ซึ่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ให้ข้อคิดว่าการชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทยที่ผ่านมามีความซับซ้อน  มีผู้เข้าร่วมหลากหลายกลุ่มที่ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องความต้องการทางการเมือง ด้วยวิธีการต่าง ๆ แม้การกระทำนั้นเป็นการละเมิดกฎหมายแต่ในสารระบบของกระบวนการยุติธรรมไทยไม่มีคำนิยามของ "คดีทางการเมือง" ดังนั้น คดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่มีการละเมิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่มีการใช้อาวุธหรือไม่ จึงเข้าไปอยู่ในสารระบบของคดีอาญา ผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องความต้องการทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ไม่ได้เป็นอาชญากร ดังนั้นจึงต้องมีการพิจารณาที่มูลเหตุและเจตนาของการกระทำ ว่ามีความประสงค์ร้ายหรือไม่ มาร่วมชุมนุมเพื่ออะไร แล้วได้รับผลอย่างไร แต่ถ้ามีการพิจารณาผ่อนผันทางคดีสิ่งที่ต้องตอบสังคมให้ได้คือจะทำให้เกิดประโยชน์กับส่วนร่วมได้อย่างไร และจะมีหลักประกันว่าไม่มีการไปกระทำผิดซ้ำอีกหรือไม่
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)