-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๘ วันพุธที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๘ วันพุธที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘ เริ่มขึ้นเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา โดยมีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ  เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง และส่งให้คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗) ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จแล้ว  เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว  ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมต่อจากเมื่อวานนี้  (๒๑ เมษายน ๒๕๕๘) ในภาค ๒ ผู้นำการเมืองที่ดีและระบบการเมืองที่ดี หมวด ๒ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อ โดยมีนายจำลอง โพธิ์สุข เป็นผู้อภิปรายเป็นคนแรก และพลเอก วัฒนา สรรพานิช อภิปรายเป็นคนสุดท้าย ซึ่งได้มีสมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นในภาค ๒ หมวด ๒ จำนวนทั้งสิ้น ๗๙ คน

                    ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาใน หมวด ๓ รัฐสภา ซึ่งมีจำนวน ๘ ส่วน ได้แก่

                              ๑. บททั่วไป

                              ๒. สภาผู้แทนราษฎร

                              ๓. วุฒิสภา

                              ๔. บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง

                              ๕. การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

                              ๖. การตราพระบัญญัติและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

                              ๗. การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

                              ๘. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

 
 นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำเสนอหลักการของหมวด ๓ รัฐสภา ต่อที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากนั้นประธานการประชุม ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยมีนางภัทรียา สุมะโน เป็นผู้อภิปรายเป็นคนแรก จนหลังจากเสร็จสิ้นการอภิปรายของนายมนูญ ศิริวรรณ แล้ว พลเอก      ยอดยุทธ บุญญาธิการ กรรมาธิการ ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกสำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตั้งปณิธานว่าจะทำงานเพื่อประเทศชาติด้วยความสุจริต เป็นกลาง เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง ทั้งนี้จะนำข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น และข้อสังเกตต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และสามารถแก้ปัญหาวิกฤตของชาติได้ตามที่ประชาชนคาดหวังไว้
 
จากนั้น นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้สั่งนัดประชุมต่อในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา เพื่อพิจารณาต่อในหมวดนี้ และสั่งปิดประชุมเวลา ๒๑.๓๖ นาฬิกา

         

 

download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)