-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« กันยายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ และนายนิมิต สิทธิไตรย์ กรรมาธิการฯ ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง การเปิดตู้ ปณ.๕๐ เพื่อรับฟังความเห็นของสื่อทั่วประเทศ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันพุธที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ และนายนิมิต สิทธิไตรย์ กรรมาธิการฯ ร่วมกันแถลงข่าวไม่เห็นด้วยกับการที่มี สปช.บางส่วนยื่นคำขอแก้ไขให้ตัดข้อความ “สวัสดิการ” ออกจากร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๙ วรรคท้าย รวมทั้งองค์กรวิชาชีพหนังสือพิมพ์และวิทยุโทรทัศน์ ๔ แห่งก็เสนอให้ตัดเช่นกัน ซึ่งพวกตนเห็นว่า ในร่างรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวมีความเหมาะสม และควรเพิ่มคำว่า “สวัสดิภาพ”เข้าไปด้วย ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายจัดตั้ง “สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ” มากำกับจริยธรรมสื่อ อันเป็นการเปิดมิติใหม่ของการก้าวไปสู่การปฏิรูปสื่อในทุกมิติ เพื่อเป็นการรับฟังความเห็นของคนทำสื่อทุกประเภทและทั้งประเทศ จึงเปิดตู้ ปณ. ๕๐ ปณฝ. รัฐสภา กทม.  ๑๐๓๐๕  เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอจากคนทำสื่อว่าต้องการอย่างไร นายบุญเลิศกล่าวว่า  ข้อความเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อในร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเขียนไว้เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปสื่อฯที่ได้ประชุมกันมาหลายครั้ง ได้แลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ กระทั่งกรรมาธิการยกร่างฯได้ใส่ข้อความในมาตรา ๔๙ วรรคท้าย “ให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์การวิชาชีพสื่อมวลชนซึ่งประกอบด้วยบุคคลในวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผู้แทนองค์การเอกชนและผู้บริโภค เพื่อปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนตามมาตรา ๔๘ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพ พิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพตามมาตรา ๔๘ และคุ้มครองสวัสดิการของบุคคลตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง” ปรากฏว่า สปช.ส่วนหนึ่งและองค์กรวิชาชีพสื่อด้านนักข่าวและด้านสภาวิชาชีพ ของหนังสือ พิมพ์ และวิทยุโทรทัศน์เสนอให้ตัด “สวัสดิการ”ออกไป จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ เนื่องจากเป็นสาระสำคัญของการปฏิรูปสื่อ จึงควรจะรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับสื่อจากคนทำสื่อทั่วประเทศซึ่งมิใช่มีแต่สื่อที่อยู่ในกรุงเทพฯเท่านั้น ดังนั้น ขอให้คนทำสื่อทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุภาครัฐ วิทยุชุมชน วิทยุออนไลน์ ทีวีสาธารณะ ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ทีวีดิจิตอล ผู้สื่อข่าวพิเศษ ฯลฯ เขียนบอกเล่าสภาพการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ในฐานะเป็นสื่อ  สวัสดิภาพและสวัสดิการค่าตอบแทน ที่ได้รับหรือไม่รับและอะไรบ้างที่อยากให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ การกำกับด้านจริยธรรมโดยกลไกสภาวิชาชีพที่จะมีในส่วนกลางและเชื่อมโยงกับในส่วนภูมิภาค ต่างจังหวัด ควรจะเป็นแบบไหน อย่างไร ถึงจะเกิดประสิทธิภาพ  โดยขอให้คนทำสื่อ เขียนบอกเล่าความเห็นและให้เสนอแนะมาที่ ตู้ ปณ. ๕๐ ปณฝ. รัฐสภา กทม. ๑๐๓๐๕  ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ จากนั้นจะนำผลมาแถลงต่อสาธารณะให้ได้รับทราบต่อไป  ทั้งนี้ นายนิมิตกล่าวว่า จากการรับฟังความเห็นของคนทำสื่อจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงได้แก่อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมทั้งสื่อที่มาร่วมสัมมนาที่เชียงใหม่ สงขลา ต่างเห็นว่าเรื่องสวัสดิภาพและสวัสดิการของคนทำสื่อควรจะได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการกำกับด้านจริยธรรมในยุคปฏิรูปสื่อครั้งนี้

 

download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)