|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
นายปกรณ์ ปรียากร พร้อมด้วย พลโท นาวิน ดำริกาญจน์ โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงรายงานความคืบหน้าของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558
|
วันพุธที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๑๕ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายปกรณ์ ปรียากร และพลโท นาวิน ดำริกาญจน์ โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมแถลงรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับฟังคำชี้แจงประกอบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน ๒ กลุ่ม คือกลุ่มที่ ๓ และกลุ่มที่ ๗ ซึ่งกลุ่มที่ ๓ ประกอบด้วย นายมนูญ ศิริวรรณ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส นายดุสิต เครืองาม นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา และนางภัทรียา สุมะโน ได้มีการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจำนวน ๖๘ มาตรา ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม อาทิ ด้านการเมืองขอตัดคำว่า "กลุ่มการเมือง" ออกจากร่างรัฐธรรมนูญทุกมาตรา ตัดการออกเสียงลงคะแนนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบ "open list" แก้ไขคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งส.ส. ให้เปิดเผยรายการภาษีเงินได้ย้อนหลังเป็นเวลาห้าปี แก้ไขจำนวนสมาชิกวุฒิสภาจาก ๒๐๐ เหลือ ๑๕๐ โดยลดจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาและการเลือกกันเองให้เหลือ ๗๓ คน และตัดคณะกรรมการกลั่นกรองออก ตัดบทบัญญัติว่าด้วยการห้ามมิให้จับกุมคุมขังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๔๐ ออกทั้งมาตรา เพิ่มเติมข้อความในมาตรา ๑๖๖ ให้การลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยการลงคะแนนลับ ด้านสิทธิพลเมืองและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แก้ไขเพิ่มเติมข้อความในมาตรา ๖๒ โดยตัดข้อความที่ให้พลเมืองมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเพิ่มเติมให้รัฐจัดให้การประเมินเชิงยุทธศาสตร์และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมมาตรา ๖๓ ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติด้วย ม. ๙๒ เพิ่มเติมว่าทรัพยากรธรรมชาติมีไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน การตรวจสอบและการปฏิรูปตัดมาตรา ๗๑ ว่าด้วยสภาตรวจภาคพลเมืองออกทั้งมาตรา แก้ไขเพิ่มเติมม. ๒๘๘ เกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงาน โดยตัดข้อความเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพลังงานทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และเพิ่มเติมเรื่องการปรับปรุงระบบโครงข่ายพลังงานให้เอื้อต่อการเป็นตลาดกลางซื้อขายพลังงานของภูมิภาค การบริการราชการแผ่นดินแก้ไขเพิ่มเติมม. ๑๙๓ เกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญา โดยตัดบางส่วนของวรรคสองที่อาจมีปัญหาในการตีความ และวรรคอื่น ๆ ที่เป็นรายละเอียดออกทั้งหมด และบทเฉพาะกาลและอื่น ๆ ในมาตรา ๓๐๘ โดยตัดข้อความในวงเล็บ (๑) และ (๒) ออก และเพิ่มเติมให้มีการออกเสียงประชามติภายใน ๙๐ วัน ว่าเห็นควรให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งเป็นระยะเวลาสองปีหรือไม่ สำหรับกลุ่ม ๗ สื่อมวลชนและการคุ้มครองผู้บริโกค ประกอบด้วยนายประสาร มฤคพิทักษ์ นางสาวรสนา โตสิตระกูล นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ และนางสาวสารี อ๋องสมหวัง ซึ่งได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญโดยขอเพิ่มสิทธิพลเมือง สิทธิชุมชน สิทธิสตรี สิทธิผู้บริโภค และสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน การตั้งกองทุนหนุนชาวบ้านปลอดคอร์รัปชั่น สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และเน้นการปฏิรูปประเทศ |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|