-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
นายประชา เตรัตน์ ประธานกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและนายปกรณ์ ปรียากร โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมแถลงข่าวเกียวกับสรุปผลความคิดเห็นของประชาชนโครงการเผยแพร่ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันศุกร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายประชา เตรัตน์ ประธานกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนายปกรณ์ ปรียากร โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  ร่วมแถลงข่าวสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน ถึง ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ จำนวน ๑๒ จังหวัด ได้แก่ 
- ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์
- ภาคกลาง จังหวัดชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และเพชรบุรี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี และอุบลราชธานี
- ภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส สงขลา และภูเก็ต
        โดยมีผู้เข้าร่วมเวทีเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑๒ จังหวัด ประมาณ ๓๐,๔๐๐ คน และเก็บแบบสอบถามได้ ทั้งสิ้น ๙,๓๕๖ คน คิดเป็น ร้อยละ ๓๐.๗๘ โดยแยกจำนวนผู้เข้าร่วมเวทีตามรายภาค ดังนี้
- อันดับที่หนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๓,๖๖๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙
- อันดับสอง ภาคกลาง จำนวน ๒,๐๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒
- อันดับสาม ภาคใต้ จำนวน ๒,๐๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑
- อันดับสี่ ภาคเหนือ จำนวน ๑,๖๔๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๘
         ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากได้รับฟังความคิดเห็นแล้ว มีความคิดเห็นว่า
- ความเห็นส่วนใหญ่ จำนวน ๔,๙๐๘ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๕๒ เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญ "มีความเหมาะสมแล้ว"
- ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน ๒,๕๑๓ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๗ เห็นว่า "ต้องปรับปรุง"
- ไม่มีความเห็น จำนวน ๑,๙๓๕ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๑
         ในส่วนของภาพรวมความพึงพอใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ สรุปผลได้ดังนี้
- ความเห็นส่วนใหญ่ "พอใจ" ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จำนวน ๕,๖๔๑ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๖๐
- อันดับสอง "พอใจมาก" จำนวน ๑,๗๗๖ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๙
- อันดับสาม "ไม่แสดงความเห็นและไม่ตอบ" จำนวน ๑,๓๒๘ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๔
         จากแบบสอบถามจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญนั้น เรียงตามลำดับได้ดังนี้
- อันดับหนึ่ง เห็นว่าเรื่องความเป็นพลเมือง มีทั้งสิ้น ๓,๖๒๖ ความเห็น
- อันดับสอง เรื่องสิทธิ เสรีภาพ มีทั้งสิ้น ๒,๙๔๑ ความเห็น
- อันดับสาม เรื่องปฏิรูปและปรองดอง จำนวน ๒,๒๔ ความเห็น
- อันดับสี่ เรื่องกระบวนการยุติธรรม การตรวจสอบ จำนวน ๒,๒๔๘ ความเห็น
- อันดับห้า เรื่องการเมือง สส. สว. รัฐสภา และครม. จำนวน ๑,๔๘๗ ความเห็น
- อันดับหกเรื่องแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ จำนวน ๑,๒๑๗ ความเห็น
- เรื่องอื่น ๆ ๙๑ ความเห็น
           สำหรับการลงมติเพื่อรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมีความคิดเห็นดังนี้
- อันดับหนึ่ง "รับแน่นอน" จำนวน ๔,๕๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙
- อันดับสอง "ไม่แน่ใจ" จำนวน ๒,๖๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๘
- อันดับสาม "ไม่ตอบ" จำนวน ๖๗๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗
- อันดับสี่ "ไม่รับ" จำนวน ๒๖๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓
- และ "ไม่มีความเห็น" จำนวน ๑,๑๘๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓ และในการให้คะแนนร่างรัฐธรรมนูญระหว่าง  ๐ - ๑๐ คะแนน โดย ๐ คะแนน ไม่ดีเลย และ ๑๐ คะแนน คือ ดีมาก ซึ่งมีผู้ให้คะแนนร่างรัฐธรรมนูญ ๓ ลำดับแรก คือ
- อันดับหนึ่ง ๑๐ คะแนน จำนวน ๑,๗๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙
- อันดับสอง ๘ คะแนน จำนวน ๑,๗๖๖  คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙
- อันดับสาม ๙ คะแนน จำนวน ๑,๕๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖
          ทั้งนี้ ในส่วนของอำนาจอธิปไตยที่ประชาชนใช้เป็นรูปแบบคือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทุกระดับนั้น  มีประชาชนเห็นว่าการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นสิทธิหรือหน้าที่
- ความเห็นส่วนใหญ่ จำนวน ๖,๕๙๕ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๘ เห็นว่า "เป็นหน้าที่" คือประชาชนทุกคนที่ถึงเกณฑ์ต้องไปลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้ง
- ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน ๑,๘๖๙ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๒ เห็นว่า "เป็นสิทธิ" คือ อยู่ที่ประชาชนจะไปลงคะแนนหรือไม่ไปลงคะแนนก็ได้จะได้ไปลงคะแนนหรือไม่ไปลงคะแนนก็ได้
- ไม่มีความเห็น จำนวน ๘๙๒ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)