-- สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศสิ้นสุด ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2560 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« กรกฎาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
ข้อมูลข่าวสารการปฏิรูปประเทศและการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ
ฐานข้อมูลการดำเนินงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
เสียงปฏิรูปประเทศ
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรธ. แถลงข่าวภายหลังการประชุมกรธ. ประจำวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยนำเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในการประชุมครั้งที่ ๑๓ ดังนี้
 
   เรื่องที่หนึ่ง พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา (ต่อเนื่อง) (พิจารณาเมื่อวันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๘)
     ที่ประชุมได้พิจารณาร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งเป็นร่างที่คณะอนุกรรมการยกร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้นตามแนวทางที่ได้รับมอบหมาย โดยได้พิจารณาความในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งประกอบด้วยร่างมาตรา ๔๓ - ร่างมาตรา ๔๖ สรุปสาระสำคัญดังนี้
     ๑. ร่างมาตรา ๔๓ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร หรือหมู่คณะ โดยการจำกัดสิทธิและเสรีภาพสามารถกระทำได้เพียงเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อป้องกันการผูกขาด
     ๒. ร่างมาตรา ๔๔ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิชุมชน เพื่อให้บุคคลและชุมชนสามารถดำเนินการหรือร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น และรัฐ ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งมีส่วนร่วมกับชุมชนและรัฐในการบริหารจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป็นต้น นอกจากนี้ ในกรณีที่รัฐจะต้องดำเนินโครงการโดยการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติใดๆ นั้น รัฐจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชน และชุมชนจนเกินสมควร แต่ในกรณีจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ รัฐต้องแก้ไขผลกระทบหรืออันตรายเหล่านั้นให้แก่ประชาชนตามสมควร
     ๓. ร่างมาตรา ๔๕ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำนโยบายสาธารณะของรัฐ รวมถึงการจัดทำร่างกฎหมาย กฎ การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่โดยปกติสุข คุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
     ๔. ร่างมาตรา ๔๖ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชนตามจรรยาบรรณแห่งการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ การคุ้มครองดังกล่าวจะอยู่ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อสารความหมายโดยวิธีอื่น (ตามมาตรา ๓๔)
 
   สำหรับวันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาร่างบทบัญญัติในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (ต่อเนื่อง) โดยเริ่มพิจารณาความในร่างมาตรา ๔๖/๑  - ร่างมาตรา ๔๙ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
      ๑. ร่างมาตรา ๔๖/๑ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนเช่นเกียวกับมาตรา ๔๖ แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานตนเองด้วย
      ๒. ร่างมาตรา ๔๘ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่เสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดได้ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เป็นต้น
      ๓. ร่างมาตรา ๔๙ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ (ขณะนี้้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา)
 
   อนึ่งในการพิจารณารายละเอียดรายมาตราสามารถนำกลับมาพิจารณาทบทวนได้อีก ซึ่งหากมีความชัดเจนในการพิจารณาแล้ว โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะนำมารายงานให้ทราบในคราวต่อไป
 
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2244 2500 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 5 ต.ค. 58)