วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๑๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายแพทย์สุกิจ อัถโถปกรณ์
ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก
นายชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และคณะ เพื่อขอเสนอญัตติด่วนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินตามพระราชกำหนด
(พ.ร.ก.) ๓ ฉบับ จำนวน ๑.๙ ล้านล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้เสนอพ.ร.ก.กู้เงิน ๓ ฉบับ โดยเฉพาะที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน ๑ ล้านล้านบาท และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยช่วยผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี จำนวน ๕ แสนล้านบาท พร้อมทั้งให้ธนาคารแห่งประเทศ ไทยจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพทางด้านการเงิน เพื่อรักษาสถานภาพ ทางด้านเศรษฐกิจอีก ๔ แสนล้าน ด้วยหลักเสียงข้างมากคงยากที่จะไป ดำเนินการคัดค้าน ประกอบการเหตุผลที่รัฐบาลให้นั้น ฝ่ายค้าน ต้องยอมอนุมัติ พ.ร.ก. ทั้ง ๓ ฉบับนี้ ซึ่งทำได้เพียงแต่ตั้งข้อสังเกต และข้อเสนอแนะแต่สิ่งที่ปรากฏขึ้นพบว่าการตรา พ.ร.ก. ดังกล่าวนั้นไม่มีการรายละเอียดของแผนงานหรือโครงการ มีเพียงแต่แผนงานคร่าว ๆ ในการใช้งบประมาณ โดยเฉพาะ งบประมาณเงินกู้ ๑ ล้านล้านบาท ซึ่งจำนวน ๖ แสนล้านที่ใช้ในการเยียวยา ฝ่ายค้านไม่ติดใจ แต่มีส่วนหนึ่งที่ต้องติดตามรายละเอียด โดยเฉพาะการนำไปใช้แก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข จำนวน ๔.๕ หมื่นล้านบาท เป็นไปในลักษณะเหมือนกับงบประมาณลงทุน และยังมีอีก ๔ แสนล้าน
ที่เป็นงบประมาณฟื้นฟู โดยกรอบที่รัฐบาลกำหนดยังมีหลายฝ่ายที่ยังมีข้อสงสัย เห็นแล้วมีความเป็นห่วงเรื่องการใช้เงิน เพราะไม่มีรายละเอียดให้ตรวจสอบ
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้านมีความเห็นตรงกันว่าการตรวจสอบติดตาม ในรูปแบบของการตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบการใช้เงินกู้ นอกจากจะ เสนอให้มีการตั้ง กมธ. แล้ว พรรคร่วมฝ่ายค้าน จะเตรียมเสนอ พระราชบัญญัติแก้ไข พระราชกำหนด โดยจะมีเนื้อหาสาระ ให้มีกลไกลในการป้องกันการใช้เงิน
เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยจะมีการเสนอหลังจากนี้ ประเด็นที่จะเสนอให้มี การแก้ไข มีหลายประเด็น อาทิ คณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อให้เกิด ความสุจริต โปร่งใส ซึ่งในคณะกรรมการนั้น ต้องกำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขของผู้ทรงคุณวุฒิเอาไว้ให้ชัดเจนโดยจะเสนอให้เพิ่ม จำนวนส.ส.เข้าไปร่วมทำหน้าที่ในคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินด้วย
และจะเสนอให้มีการแก้ไขการประมูล จากเดิมที่จะไม่ใช้การประกวดราคาผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Biding) ต้องให้ประกวดราคาผ่าน E-Bidding
เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเสนอให้มีการรายงานในรายละเอียดการใช้ เงินต้องมารายงานสภา ๓ เดือนต่อครั้ง |