FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รัฐสภาไทยร่วมส่งคลิปวีดิทัศน์สารประกอบการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีทางการเมือง ประจำปี 2564 (Women Political Leaders Summit 2021 - WPL Summit) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

"รัฐสภาไทยร่วมส่งคลิปวีดิทัศน์สารประกอบการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีทางการเมือง ประจำปี 2564 (Women Political Leaders Summit 2021 - WPL Summit) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์"

รัฐสภาไทยร่วมส่งคลิปวีดิทัศน์สารในหัวข้อ "ประเทศของท่านจะทำอย่างไรเพื่อสร้างภาวะความปกติใหม่อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งผู้นำสตรีทางการเมืองได้มีบทบาทอย่างแข็งขันและเท่าเทียมในการตัดสินใจและการผลักดันสังคมให้ก้าวหน้า" เพื่อประกอบการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีทางการเมือง ประจำปี 2564 (Women Political Leaders Summit 2021 - WPL Summit) ซึ่งจัดขึ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในวันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 19.00 – 00.00 นาฬิกา โดยองค์กรผู้นำสตรีทางการเมือง (WPL) เป็นเจ้าภาพร่วมกับนาง Amina J. Mohammed รองเลขาธิการสหประชาชาติ และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานความร่วมมือแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Partnerships - UNOP) ในฐานะที่ปรึกษา

การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีทางการเมือง ประจำปี 2564 เน้นความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่สามารถส่งเสริมให้ผู้นำสตรีได้มีบทบาทในการปรับสังคมให้มีส่วนร่วมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมภายหลังวิกฤต และเพื่อสอดคล้องกับทศวรรษแห่งการลงมือทำ (Decade of Action) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) นอกจากนี้การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีทางการเมือง ประจำปี 2564 จะเชื่อมโยงการทำงานกับโครงการผู้นำสตรีขององค์การสหประชาชาติ (UN's Women Rise for All Initiative) และโครงการยุคสมัยแห่งความเท่าเทียมกันขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women Generation Equality Initiative)

ระเบียบวาระในการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีทางการเมือง ประจำปี 2564 ประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษ การเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อคุณสมบัติของภาวะผู้นำ การสร้างภาวะผู้นำที่เท่าเทียม บทเรียนและข้อเสนอแนะสำหรับการสร้างภาวะผู้นำในชีวิตวิถีใหม่ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนตัวอย่างความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบซึ่งยกระดับบทบาทของผู้นำสตรีในหลายประเทศ การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีทางการเมือง ประจำปี 2564 ยังได้เปิดตัวคู่มือเรคยาวิค (The Reykjavík Manual) จำนวน 9 บท ซึ่งเป็นคู่มือภาคปฏิบัติเพื่อสนับสนุนบทบาทของผู้นำสตรีในการพื้นฟูและการพัฒนาที่ดีกว่าเดิม (Build Back Better) เพื่อบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน มีส่วนร่วม และเป็นธรรม คู่มือเรคยาวิคเป็นโครงการต่อเนื่องซึ่งคู่มือฉบับสมบูรณ์จะมีทั้งสิ้น 17 บทตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 

ในส่วนของคลิปวีดิทัศน์สารในหัวข้อ "ประเทศของท่านจะทำอย่างไรเพื่อสร้างภาวะความปกติใหม่อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งผู้นำสตรีทางการเมืองได้มีบทบาทอย่างแข็งขันและเท่าเทียมในการตัดสินใจและการผลักดันสังคมให้ก้าวหน้า" นางสาวจิตภัสร์ กฤดากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และทูตองค์กรผู้นำสตรีทางการเมืองประจำประเทศไทย (WPL Ambassador) เป็นผู้แทนรัฐสภาไทยกล่าวถ้อยแถลง โดยแสดงความชื่นชมและขอบคุณสตรีทุกคนที่อุทิศตนเองในการปกป้องชุมชนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ว่าจะในฐานะผู้ดูแลด้านสุขอนามัยในครัวเรือน บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีจำนวนประมาณ 1 ล้านคนทั่วประเทศและส่วนใหญ่เป็นสตรีอีกด้วย จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่รัฐสภาต้องทำงานเป็นเวทีผลักดันให้การเคลื่อนไหวทางสังคมนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และสมาชิกรัฐสภาสตรีต้องทำหน้าที่ผลักดันประเด็นของสตรีให้ก้าวหน้า สภาผู้แทนราษฎรได้ศึกษาและเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามและการล่วงละเมิดทางเพศซึ่งกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว นอกจากนี้ยังเตรียมการศึกษาการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชายเพื่อให้นโยบายเพื่อการฟื้นฟูจากผลกระทบของโควิด-19 มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อสตรี 

นางสาวจิตภัสร์  กฤดากร กล่าวทิ้งท้ายว่าในชีวิตวิถีใหม่ ตนมีความมั่นใจว่ารัฐสภาไทยจะยังคงติดตามตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร เป็นกระบอกเสียงของกลุ่มคนที่มีอำนาจน้อยกว่า และร่วมกันสร้างสังคมสุจริตและมีความเป็นธรรมที่ไม่ทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง

ผู้แทนรัฐสภาของนานาประเทศที่ร่วมส่งคลิปวีดิทัศน์สารมีทั้งสิ้น 50 คน ต่างตระหนักในความสำคัญของการที่ผู้นำทั้งหญิงและชายได้มีบทบาทอย่างเท่าเทียมกันในการตัดสินใจในทุกระดับของทุกภาคส่วน รวมทั้งเสนอมาตรการในการกำจัดอุปสรรคทางกฎหมาย ทางเศรษฐกิจ และทางสังคมที่ขัดขวางไม่ให้สตรีเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานตลอดจนโอกาสการเป็นผู้นำองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม   

เครดิต : ข่าวและภาพ โดยกลุ่มงานสหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิกสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรฃ

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats