FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 29 (วันที่ 2)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 29 (วันที่ 2) ระหว่างเวลา 08.30-11.00 นาฬิกา เป็นการประชุมคู่ขนานทั้งหมด 2 การประชุม ได้แก่ 1. การประชุมเต็มคณะ วาระที่ 1 ด้านการเมืองและความมั่นคง และ 2. การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างข้อมติและแถลงการณ์ร่วมการประชุม APPF ครั้งที่ 29

ในการประชุมเต็มคณะ วาระที่ 1 ด้านการเมืองและความมั่นคง พลเอก สุรพงษ์  สุวรรณอัตถ์ สมาชิกวุฒิสภา และนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งผู้แทนฯ ทั้ง 2 คน ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมในช่วงดังกล่าวด้วย โดยนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบพหุภาคีของภูมิภาคและการแก้ไขปัญหาตามกฎเกณฑ์ (Strengthening regional multilateralism and addressing issues based on rules)” โดยได้กล่าวถึง ระบบพหุภาคีที่ถูกท้าทายจากแนวคิดชาตินิยมและผลประโยชน์แห่งชาติ แต่ด้วยปัญหาปัจจุบันที่มีความซับซ้อนและเป็นประเด็นข้ามชาติ ความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยระบบพหุภาคีในอนาคตยังคงต้องการรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาในการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและนำนโยบายไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจนบทบาทของรัฐสภาไทยในการสนับสนุนรัฐบาลในการรักษาไว้ซึ่งการปกครองระหว่างประเทศและระเบียบที่มีกฎกติกาเป็นรากฐาน

พลเอก สุรพงษ์  สุวรรณอัตถ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อ “ความเป็นผู้นำของรัฐสภาเพื่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและที่อื่น ๆ (Parliamentary leadership for peace and security in the Asia-Pacific and beyond)” โดยได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่จะรักษาความหวังและความฝันของประชาชนให้คงอยู่ โดยประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสันติภาพ ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบสุขและมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงหน้าที่ของรัฐสภาต่อการทบทวน ประเมิน และให้ข้อเสนอแนะในการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณ 

สำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างข้อมติและแถลงการณ์ร่วมของการประชุม APPF ครั้งที่ 29 นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมีนาย Hong Ihk-Pyo สมาชิกรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลีเป็นประธานการประชุม และมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม จำนวน 8 ประเทศ โดยที่ประชุมร่วมกันพิจารณาและรับรองร่างข้อมติ จำนวน 13 ร่างข้อมติ ซึ่งร่างข้อมติดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานและการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างข้อมติฯ ก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งหมด 3 ครั้ง 

อนึ่ง การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 เวลา 07.00-10.00 นาฬิกา เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม APPF ครั้งที่ 29 

ในช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลา 13.30-16.30 นาฬิกา เป็นการประชุมเต็มคณะ วาระที่ 2 ด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยในการประชุมดังกล่าว นายสุภดิช อากาศฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมในช่วงดังกล่าวด้วย 

นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อ “การเร่งให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลและการเพิ่มความเชื่อมโยง (Accelerating Digital Economy and enhancing connectivity)” โดยได้กล่าวว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม ประเทศต่าง ๆ จึงต้องเร่งพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความยืดหยุ่นสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์โรคระบาด ขจัดความยากจน ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี รักษาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 และเน้นย้ำบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ รวมทั้งบทบาทของรัฐสภาไทยในการตรากฎหมายเพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงกำหนดแนวทาง มาตรการการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

นอกจากนี้ นายสุภดิช อากาศฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงภายใต้หัวข้อ “การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม (Strengthening international cooperation for greater economic resilience and inclusive economic recovery)” โดยได้กล่าวถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในมิติต่าง ๆ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และการพัฒนาในทุกระดับ ความพยายามที่จะจัดการกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดทั้งในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวและการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG และบทบาทรัฐสภาไทยในการให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดหลายฉบับเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และมีคณะกรรมาธิการสามัญของทั้งสองสภาและคณะกรรมาธิการวิสามัญที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่พิจารณาและติดตามการใช้เงินกู้และมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วย โดยเน้นย้ำว่าความร่วมมือระหว่างประเทศและการมีส่วนร่วมของสถาบันพหุภาคีเป็นส่วนสำคัญ โดยรัฐสภาควรใช้บทบาททางด้านนิติบัญญัติติดตามนโยบายและพันธกิจของรัฐเพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนและชุมชนได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืน

เครดิต : ข่าว โดย กลุ่มงานกิจการพิเศษ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats