FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการสัมมนา การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : จากยานยนต์ไร้มลพิษสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เพื่อสนับสนุนการบรรลุความตกลงปารีส ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 08.30 นาฬิกา ณ ห้องทำงานรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ชั้น 10 อาคารรัฐสภา นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการสัมมนา “การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : จากยานยนต์ไร้มลพิษสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เพื่อสนับสนุนการบรรลุความตกลงปารีส” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวรายงาน และ  Mr. Renaud Mayer ผู้แทนโครงการแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวถึง ความร่วมมือด้าน SDGs ระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)  

โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ ได้กล่าวเกี่ยวกับสภาวการณ์ปัญหาโลกร้อนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ปรากฏขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกขณะนี้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะที่โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตปัญหาดังกล่าวจึงกลายเป็นปัญหาที่น่ากังวล และเป็นความท้าทายของนานาประเทศทั่วโลกตนเชื่อว่าทุกท่านที่มาร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นผู้ที่ตระหนักและมีความเข้าใจห่วงใยในสถานการณ์วิกฤตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างดี และมีความประสงค์ที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง / เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือ / และปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการ และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ นอกจากเป็นการสนับสนุนการบรรลุความตกลงปารีส  ที่พยายามจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุดดังกล่าวแล้ว ยังเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นทศวรรษแห่งการเร่งรัดการดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี ค.ศ. 2030 ด้วย ในส่วนของรัฐสภา จากการปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตนได้รับทราบข้อหารือของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพบว่า จำนวนข้อหารือมากกว่าครึ่งหนึ่งของข้อหารือแต่ละครั้งล้วนเป็นเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ทั้งอัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง หรือแม้แต่โรคระบาดทั้งในคนและสัตว์ รวมถึงเรื่องร้องเรียนของประชาชนที่ได้ร้องเรียนมาถึงผมโดยตรงด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดความเดือดร้อนโดยตรงแก่ประชาชนแล้ว ยังเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่นตามมาด้วย ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยจะต้องอาศัยความเข้าใจ ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วน ทั้งในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาเยียวยาผลกระทบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แม้แต่บนเวทีระหว่างประเทศ รัฐสภาไทยยังได้นำประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาเป็นหัวข้อหลักในการประชุม โดยครั้งเมื่อรัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 40 ได้มีการกำหนดหัวข้อหลักในการประชุม เรื่อง “นิติบัญญัติร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล เพื่อประชาคมที่ยั่งยืน”  ซึ่งจากการประชุมดังกล่าว  ทำให้เห็นว่า ภารกิจลำดับต้นที่รัฐสภาไทยกำลังร่วมดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยที่ประชุมสมัชชาฯ ในครั้งนั้น ได้มีการรับรองข้อมติว่าด้วยการยกระดับการทำงาน

ด้านสภาพภูมิอากาศในอาเซียน โดยกลไกของรัฐสภาด้วย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า รัฐสภาไทยได้ตระหนัก และเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวเสมอมา จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  มุ่งเน้นให้รู้จักการใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียงมีเหตุผล รอบคอบ และระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากร  นั่นหมายถึง  การนำทรัพยากรมาใช้ให้พอประมาณอย่างคุ้มค่า  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ ซึ่งจะทำให้เกิดผลผลิตความสมดุล ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของความสามารถในการพึ่งพาตนเอง  พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และสามารถฟื้นตัวได้เร็วเมื่อเกิดภาวะวิกฤต และการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ เพื่อเป็นหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย จากหลักปรัชญาดังกล่าวจึงนำมาสู่แนวความคิดการเป็นรัฐสภาสีเขียว โดยมุ่งที่จะให้รัฐสภาเป็นองค์กรที่สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดำเนินงานและกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางจัดการทุกระบบอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกันสิ่งแวดล้อมและปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณที่ต่ำ สะอาด และปลอดภัย  เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้อาคารรัฐสภา อันจะนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่ดี เอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันเป็นการสนับสนุนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการอีกแนวทางหนึ่ง และเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของฝ่ายนิติบัญญัติ  ในการร่วมดำเนินการด้านการรับมือ การปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

ท้ายนี้ ขอขอบคุณคณะทูตานุทูต ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย นายเรอโน เมแยร์  ผู้อภิปรายที่มีบทบาทนำในด้านยานยนต์ไฟฟ้าไร้มลพิษ ในภาคส่วนต่าง ๆ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และกลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และขออวยพรให้โครงการดังกล่าวเป็นไปด้วยความราบรื่น ประสบความสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และนำผลที่ได้จากการสัมมนาไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประชาชนต่อไป

สำหรับการจัดสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบแนวทางการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรค การปรับตัว และวิธีการรับมือ รวมถึงความท้าทายต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งแนวทางการบูรณาการในการดำเนินการของภาคส่วนต่าง ๆ โดยจะได้มีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสะท้อนมุมมองในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจัดโดยความร่วมมือของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ภายใต้ MOU ที่ได้ลงนามร่วมกัน เพื่อมุ่งเสริมสร้างความรู้และยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตลอดระยะเวลาเกือบสองปีที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เครือข่ายของศูนย์ประชาคมอาเซียนฯ เยาวชนและประชาชนผู้สนใจ

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats