ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายศุภชัย ใจสมุทร ประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... รับยื่นหนังสือจาก นายณัฐพงศ์ สำเภาแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง และคณะ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565  เวลา 10.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายศุภชัย  ใจสมุทร ประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. ....  รับยื่นหนังสือจาก นายณัฐพงศ์  สำเภาแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง และคณะ เพื่อยื่นข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... เนื่องจากการปลดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข มีผลเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปลดล็อคให้ทุกส่วนของกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติดอีกต่อไป เพียงวันแรกของการปลดล็อค พบสินค้าหลายชนิดที่มีส่วนผสมจากกัญชาวางจำหน่ายทั่วประเทศ อย่างเปิดเผยและเสรี ทั้งเครื่องดื่ม ขนม รวมถึงต้นกัญชา จึงมีความห่วงใยจากหลากหลายกลุ่ม อาทิ บุคลากรทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ นักวิชาการ ตัวแทนภาคประชาสังคม รวมถึงศิลปินดารา นักร้อง ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและสังคม โดยเฉพาะการปกป้องเด็ก เยาวชน และกลุ่มเปราะบาง แม้สภาผู้แทนราษฎรจะมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ. ดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 65 แต่ยังต้องใช้เวลานานกว่าที่จะพิจารณาออกกฎหมายและมีผลบังคับใช้ ทำให้ขณะนี้ ไม่มีมาตรการควบคุมการใช้กัญชา กัญชง และหากพิจารณาสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.กัญชาฯ จะพบว่ามีการให้สิทธิประชาชนสามารถปลูก กัญชา กัญชงเพื่อใช้ในครัวเรือนได้ เท่ากับเป็นการเปิดประตูให้สามารถใช้ในทางนันทนาการได้ ในขณะนี้ที่ยังไม่มีมาตรการที่ดีพอเพื่อควบคุมไม่ให้ใช้กัญชา กัญชงในทางที่ผิด ไม่สามารถควบคุมปัญหาจากการเมากัญชาได้ เช่น เมากัญชาขับรถ การเสพหรือบริโภคเกินขนาด การคิดค้นสูตรผสมต่าง ๆ ที่อันตราย การกำหนดปริมาณส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้น  จึงขอเรียกร้องให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการที่รัดกุม คลอบคลุมทุกมิติของปัญหาและผลกระทบที่จะตามมาจากการอนุญาตให้มีการใช้กัญชา กัญชง เช่น ต้องควบคุมการปลูก การนำไปใช้หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ การจำหน่าย จำกัดการเข้าถึง ห้ามโฆษณา ดังนั้น เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง ขอเสนอแนะต่อคณะกมธ. ดังนี้
1. เครือข่ายไม่คัดค้านการใช้กัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ หรือเศรษฐกิจ แต่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อนันทนาการ เพราะแม้กัญชาจะถูกถอดออกจากบัญชียาเสพติด แต่ฤทธิ์ของกัญชา กัญชง ยังส่งผลต่อระบบประสาททำให้มีอาการมึนเมา ประสาทหลอน และเสพติดได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อระบบพัฒนาการของสมอง ทำให้โครงสร้างสมองผิดปกติ
ความสามารถในการตัดสินใจ คิด วิเคราะห์ลดลง มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวล ซึมเศร้า
2. ควรกำหนดให้สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานที่ราชการ เป็นสถานที่ห้ามเสพ ห้ามขายกัญชา และห้ามจำหน่าย
อาหาร เครื่องดื่ม ส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ทุกชนิด และให้หมายความ
รวมถึงกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่หน่วยงานดังกล่าวอนุญาตให้จัด เช่น กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมเข้าค่าย กิจกรรม
ทัศนศึกษา ศึกษาดูงาน กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ การประชุมสัมมนา
3. การห้ามขายกัญชาให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องพิจารณาเพิ่มบทลงโทษให้สูงกว่าข้อเสนอเดิมสองเท่า และควรพิจารณามาตรการคุ้มครองเด็กที่เป็นผู้กระทำความผิด เช่น กรณีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเด็กหรือผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรต้องรับโทษทางอาญา โดยเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
4. ห้ามไม่ให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชาผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติโดยเด็ดขาด เพื่อจำกัดการเข้าถึงและควบคุมอายุของผู้ซื้อ และต้องควบคุมปริมาณความเข้มข้นของกัญชาที่ผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาต้องระบุปริมาณส่วนผสมของกัญชาให้ชัดเจน นอกจากนี้ ต้องมีการระบุข้อความคำเตือนเกี่ยวกับการใช้กัญชา
5. ควรห้ามการโฆษณากัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีสวนผสมของกัญชา กัญชง รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายที่มีรูปแบบ วิธีการและเนื้อหาที่มุ่งเชิญชวนเด็กและเยาวชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
6. ขอเรียกร้องให้คณะ กมธ. ขยายเวลาพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ และเปิดรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในวงกว้างอย่างจริง ทั่วถึง
7. ควรกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมกัญชา กัญชง ต้องมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแล และลดผลกระทบจากกัญชา กัญงง มิใช่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนเพียงอย่างเดียว

นายศุภชัย  ใจสมุทร  กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า  การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ. ....  เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ และทางด้านเศรษฐกิจและมั่นใจว่า กฎหมายฉบับนี้จะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ฉบับ เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 65 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 9 ก.พ. 65 และจะมีผลบังคับใช้หลังพ้น 120 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 65 อีกทั้งประกาศฉบับนี้กำหนดให้เฉพาะสารสกัด ที่มี THC มากกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักเท่านั้น ที่เป็นยาเสพติด   ส่งผลให้พืชกัญชา เช่น ช่อดอก ซึ่งไม่ใช่สารสกัด แต่มี THC สูงถึงร้อยละ10 – 20 จะไม่เป็นยาเสพติดอีกต่อไป ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ได้มีการปกป้องเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ทั้งนี้ คณะ กมธ. มีความห่วงใยและตระหนักต่อการเข้าถึงกัญชาในเด็กและวัยรุ่น และจะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้นไปบรรจุในร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ. ....  ต่อไป
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats