|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงข่าว
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 18 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 11.15 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงข่าว กรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ให้ข่าวแก่สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 65 ว่า ได้ส่งหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 ก.ค.65 นี้ เนื่องจากเว็บไซต์สภา ระบุว่า ญัตติดังกล่าวมี นายชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ รวม 186 คน โดยมีเอกสารที่ระบุว่า ญัตติดังกล่าวมาจากเลขรับที่ 7/2565 วันที่ 15 มิ.ย. 2565 จำนวน 186 คน สะดุดตา เพราะตามสำเนาญัตติเดิมซึ่งเป็นฉบับลายมือชื่อตามเลขรับที่ 7/2565 มี ส.ส. เข้าชื่อรวมเพียง 182 คน แต่ในฉบับพิมพ์ กลับมีจำนวนรวม 186 คน ข้อเท็จจริงคือ พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เสนอญัตติเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2565 เวลา 13.20 น. ซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับญัตติด้วยตนเอง และหนังสือลงเลขรับที่ 7/ 2565 ตอนยื่นญัตติตอนนั้นมีผู้ร่วมเสนอญัตติ 182 คนซึ่งเป็นจำนวนเกินหนึ่งในห้าของสมาชิกฯ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 151 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ จากนั้นเวลา 16.10 น. ของวันเดียวกัน นายชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ขอเพิ่มจำนวนผู้เสนอญัตติอีก 4 คน โดยทำหนังสือมาถูกต้องเรียบร้อย เลขรับหนังสือที่ 8 / 2565 ทำให้มีจำนวนผู้ร่วมเสนอญัตติเป็นจำนวน 186 คน และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้บรรจุในระเบียบวาระเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.65 แม้จะเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีก 4 คน ก็ตาม จำนวนคนที่เสนอญัตติก็ยังมากกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถูกต้องตามรัฐธรรมนูญฯ และสามารถเป็นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ซึ่งก่อนที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะอนุญาตให้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระ การแก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อสามารถทำได้ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 61 การแก้ไขเพิ่มเติมญัตติหรือการถอนญัตติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรสั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของที่ประชุม หมายความว่า ตราบใดที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรยังไม่อนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องขอมติจากที่ประชุม การยื่นญัตติในขณะนั้นก่อนที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะอนุญาตให้บรรจุเข้าระเบียบวาระยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ และกรณีนี้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้ทำเป็นหนังสือยื่นมาถูกต้อง จึงขอแจ้งให้นายเรืองไกร และทุกคนทราบโดยทั่วถึงกัน |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|