FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายแทนคุณ จิตต์อิสระ นายชานันท์ ยอดหงษ์ โฆษกคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... แถลงข่าวความคืบหน้า ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ....

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 31 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 12.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายแทนคุณ จิตต์อิสระ นายชานันท์ ยอดหงษ์ โฆษกคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... แถลงข่าวความคืบหน้า ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีจำนวน 46 มาตรา และคณะ กมธ. พิจารณาแล้วเสร็จแล้ว ซึ่งจะมีเพียงรายละเอียดบางส่วนที่ยังคงค้าง 4 มาตรา คือในมาตราที่ 5 มาตราที่ 9 มาตราที่ 11/1 และมาตราที่ 36 ซึ่งในวันนี้ได้มีการพิจารณาเพิ่มเติมและรอการพิจารณา ดังนี้

มาตรา 5 รัฐมนตรีที่รับผิดชอบในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้  ให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ รวมทั้งยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายด้วย สำหรับประเด็นที่ให้มีการเพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาความมั่นคงและสังคมของมนุษย์ให้เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยหรือไม่ จะเป็นส่วนที่พิจารณากันต่อไป

มาตรา 9 การจดทะเบียนคู่ชีวิต จะกระทำไม่ได้ในกรณีต่อไปนี้ 
(1) บุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นคนวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
(2) บุคคลทั้งสองคนเป็นญาติสืบสาโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสาโลหิต โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(3) บุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีคู่สมรสหรือคู่ชีวิตอยู่ก่อนแล้ว 
ประเด็นที่รอการพิจารณา คือ ประเด็นการบัญญัติถ้อยคำว่า "สาโลหิต" หรือคำว่า "สายโลหิต"

มาตรา 11/1  เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนคู่ชีวิตต่อนายทะเบียนได้เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวการณ์รบหรือสงคราม ถ้าได้แสดงเจตนาจะจดทะเบียนกันต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่ ณ ที่นั้น แล้วให้บุคคลดังกล่าวจดแจ้งการแสดงเจตนาขอทำการจดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลสองคนนั้นไว้เป็นหลักฐาน และต่อมาบุคคลสองคนนั้นได้จดทะเบียนคู่ชีวิตกันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจทำการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนได้ โดยแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนและให้นายทะเบียนจดแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่แสดงเจตนาขอทำการจดทะเบียนคู่ชีวิต และพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ในทะเบียนคู่ชีวิต ให้ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทำการจดทะเบียนคู่ชีวิตต่อบุคคลดังกล่าวเป็นวันจดทะเบียนคู่ชีวิตต่อนายทะเบียนแล้ว สรุป คือให้นายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่ในการรับจดทะเบียน ให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลสองบุคคลโดยไม่มีการจำกัดเพศ


มาตรา 36 ว่าด้วยเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต มีการถกเถียงกันและสงวนคำแปลญัตติไว้ คู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ฉันภรรยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ ร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ซึ่งในส่วนนี้คำว่า อาจิณ เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันถึงความหมายของคำนี้ หมายถึงต้องสม่ำเสมอ หลายครั้งหรือมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป แต่มี กมธ. หลายท่านเห็นว่า เพียงแค่ 1 ครั้ง ก็นำมาซึ่งเหตุแห่งการไม่สบายใจในการใช้ชีวิตคู่เป็นเหตุแห่งการฟ้องเลิกได้

นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาครอบคลุมไปถึงประเด็นบุตรบุญธรรมด้วย ในกรณีที่จะเปลี่ยนจากบุตรบุญธรรมเป็นคู่ชีวิต หรือจะเปลี่ยนจากคู่ชีวิตเป็นบุตรบุญธรรม  ซึ่งต้องมีการพิจารณาให้ครอบคลุมในทุกมิติด้วย  และมีการพิจารณาค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนคู่ชีวิตอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ดังนี้ 
1.ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนคู่ชีวิตนอกสำนักทะเบียน รายละ 1,000 บาท
2.ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนคู่ชีวิต ณ สถานที่จดทะเบียน รายละ 500 บาท
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้มีขึ้น
3.ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนคู่ชีวิตนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล รายละ 100 บาท
4.ค่าธรรมเนียมการคัดและรับรองสำเนาทะเบียนคู่ชีวิต รายละ 100 บาท
5.ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียน
ในกรณีการจดทะเบียนคู่ชีวิตนอกสำนักทะเบียน
ครั้งละ 1,000 บาท

ประเด็นที่รอการพิจารณา การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนคู่ชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุใดจึงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสมรส ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยกลับไปพิจารณาในประเด็นนี้แล้วนำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. คู่ชีวิต และ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 7 ฉบับ ซึ่งต้องปรับถ้อยคำให้สอดคล้องกัน

นายชานนท์ ยอดหงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะ กมธ. ได้มีมติวางกรอบการพิจารณา ทั้ง 4 ร่าง ควบคู่กันไป แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พิจารณาทุกวันพุธ และร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่เรียกว่าร่างสมรสเท่าเทียม พิจารณาทุกวันพฤหัส เพื่อให้แล้วเสร็จทั้ง 2 กลุ่มแบบคู่ขนาน อันนำไปสู่การพิจารณาของสภาในวาระ 2 และ วาระ 3 ก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะเสนอให้ทันให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมวันที่ 18 ก.ย.นี้ โดยจะเสนอสภาพิจารณาทั้ง ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต และร่างสมรสเท่าเทียม ควบคู่กันโดยไม่ปัดตกร่างใดในร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ มีส่วนที่คล้ายคลึงกันของเนื้อหาในเรื่องสิทธิ์ของ LGBTQ แต่หัวใจหลักในรายละเอียดของเนื้อหารายมาตรานั้นยังคงมีความแตกต่างกันอยู่ ร่างสมรสเท่าเทียม เป็นการแก้ไข สร้างพัฒนาการให้กับกฎหมายเดิม คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้บุคคลไม่ว่าเพศวิถีเพศสภาพใดก็ตาม สามารถจดทะเบียนสมรสคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อสลายการผูกขาด ยุติการเลือกปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นในกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนสามาถึงสิทธิอย่างเสมอภาค หากร่างนี้ผ่านในวาระต่อไปและมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ จะถือได้ว่าเป็นการปักหมุดวิวัฒนาการของกฎหมายไทย โดยเฉพาะประมวลแพ่งและพาณิชย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเรื่อยมาก ให้เท่าทันกับข้อเรียกร้องของพี่น้องประชาชน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นกฎหมายที่แก้ไขได้ ไม่ถูกแช่แข็ง เพราะสังคมและประชาชนในประเทศมีพัฒนาการ เพื่อพี่น้องประชาชนทุกคนสามารถใช้กฎหมายร่วมกันได้ โดยไม่ถูกแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ สำหรับ ร่าง คู่ชีวิต เป็นการออกกฎหมายขึ้นมาใหม่ ที่แบ่งแยกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีการปฏิบัติที่ต่างกัน เป็นร่างที่พัฒนามาจากสมัย พ.ศ. 2556 ในบริบทสากลขณะนั้น ประเทศต่างๆ ได้ออก Civil Partnership Bill สำหรับการจดทะเบียนคู่รักเพศเดียวกัน มีการใช้คำใหม่ อย่างคู่ชีวิตขึ้นมาในร่างกฎหมาย ซึ่งจะต้องไปเพิ่มคำว่า คู่ชีวิต เข้าไปกับกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งยังขาดการเข้าถึงสิทธิ และสวัสดิการบางประการ และทาง กมธ. ก็พยายามปรับปรุงพัฒนาร่างนี้ให้เข้ากับบริบทปัจจุบันสากลที่มีการสมรสเท่าเทียมแล้ว ดังนั้นในฐานะ กมธ. พิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ขอให้พี่น้องประชาชนช่วยกันจับตาการเคลื่อนไหวของคณะ กมธ. ชุดนี้ และการพิจารณาในสภา และช่วยกันยกระดับเพดานความคิด เปิดใจกว้างยอมรับศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นคน ไม่ว่าจะมีเพศสภาพใด สามารถอยู่ร่วมกันและปฏิบัติตามกฎหมายร่วมกันได้ ไม่แบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เพราะคนใดที่พยายามขัดขวางสมรสเท่าเทียม เท่ากับว่าเป็นการขัดขวางสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรี และความเสมอภาคของพี่น้องประชาชนที่จะเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ และต้องการรักษาการเลือกปฏิบัติ ไม่สนใจความเป็นคนของพี่น้องประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats