หน้าหลัก
Untitled Document
  ค้นหา :
 
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

คลิกอ่านข่าววิทยุรัฐสภา

ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ภารกิจการขับเคลื่อนการปฏิรูป ๑๑ ด้านต่อคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศและเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2560

วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ภารกิจการขับเคลื่อนการปฏิรูป ๑๑ ด้านต่อคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศและเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี" ในงานสัมมนาวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติและทิศทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปองค์กรปกครองท้องถิ่น จัดโดย สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยศิลปากร  นายอลงกรณ์ กล่าวถึงศักยภาพของประเทศ ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ใครคิด เราต้องภูมิใจในศักยภาพของประเทศ เชื่อมั่นและมั่นใจในประเทศ มองในมุมสว่างด้านดีของประเทศ เพื่อก้าวไปสู่ประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมีสันติสุข การขับเคลื่อนประเทศไทยต่อจากนี้ไปภายใต้การทำงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างแม่น้ำ ๕ สาย ไม่ว่าจะเป็นคสช. รัฐบาล สปท. สนช. และ กรธ. จะมีทิศทางที่แน่นอน มีแบบแผนที่ชัดเจนเ เดินตามโรดแมปและแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เพื่อพาประเทศไปสู้เป้าหมายของการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยในระดับสูง ก้าวข้ามจากประเทศรับจ้างผลิตสู่การเป็นประเทศที่ใช้การพัฒนานวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศ โดยใช้ ๖ โมเดลเศรษฐกิจกระแสใหม่ เน้นการต่อยอด ๕ อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (5 First S - curve) ร่วมกับเติมเต็มการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (5 New S - curve) การปฏิรูปประเทศทั้ง ๑๑ ด้าน จะครอบคลุมการแก้ปัญหาของประเทศทุกด้านอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ ๖ โจทย์ใหญ่ คือ เพื่อให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย เพื่อให้มีการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกัยและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีแระสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพั ฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม การปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องของทุกคน เพราะประเทศไทยเป็นของทุกคน และทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ การปฏิรูปประเทศจึงจะสำเร็จได้  การปฏิรูปเริ่มต้นได้ที่ตนเอง ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องมาร่วมมือกันปฏิรูปประเทศ เพื่ออนาคตที่ดีของประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า ๒ ปี ของการปฏิรูปประเทศ มีข้อบ่งชี้หลายประการ ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยดีขึ้น แข็งแรงขึ้น เช่น
- ธนาคารโลกปรับตัวเลขประเมินอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปี ๒๕๕๙ ดีขึ้น
-ได้รับการจัดอันดับจาก IMD ว่ามีขีดความสามารถในการแข่งขันปี ๒๕๕๙ ของไทยดีขึ้น แซงเกาหลีใต้เป็นครั้งแรก
-ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ดีที่สุดอันดับที่ ๒๑ ของโลก และเป็นอันดับ ๕ ของเอเชีย
- ได้รับการจัดอันดับกับ CNN ยกกรุงเทพฯ เป็นเมือง street food ที่ดีที่สุดของโลก มีอาหารริมทางที่ดีที่สุดในโลก ๒ ปีซ้อน และ World Street Food Congress ยกให้หอยทอดติด ๑ ใน ๓ อาหารขึ้นชื่อมากที่สุด
-การเติบโจของ GDP ปี ๒๕๕๙ เติบโตร้อยละ ๓.๒
ด้านศักยภาพในการผลิตและการส่งออกสินค้าและบริการนั้น ประเทศไทยติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ ของโลก ในสินค้าและบริการหลายด้าน อาทิ เป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่ามากเป็นอันดับ ๑ ของโลก ส่งออกข้าวในปีการผลิต ๒๕๕๖/๒๕๕๗ เป็นอันดับ ๑ ของโลก ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ ๑ ของโลก ในปีการผลิต ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖การส่งออกของไทยดีขึ้น ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙ ขยายตัวถึงร้อยละ ๖.๒ เป็นบวกในคนั้งแรกในรอบ ๔ ปี เชื่อว่าการส่งออกไทยจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ตามศักยภาพที่ร้อยละ ๕ เมื่อสถานการณ์โลกปรับตัวกลับเข้าสู่ปกตอในระยะต่อไป ล่าสุดสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ได้เผยผลสำรวจดัชนีความทุกข์ยาก (misery index) ประจำปี ๒๐๑๗ พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลก เป็นปีที่สามติดต่อกัน เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ประเทศไทยยิ่งใหญ่กว่าที่ใครคิด และนี้ก็คือศักยภาพของประเทศ ในการก้าวไปเป็นประเทศไทย ๔.๐ ขณะนี้การปฏิรูปประเทศเข้าสู่โรดแมประยะที่สองโดยจะสานต่อการปฏิรูปในโรดแมประยะที่หนึ่ง ซึ่งมีเป้าหมายคือ ในปี ๒๕๖๐ จะปฏิรูป ๒๗ วาระเร่งด่วน ๔๒ ประเด็น ๕ ด้านได้แก่ ด้านกลไกภาครัฐ ด้านเครื่องมือพัฒนาฐานราก ด้านเศรษฐกิจอนาค ด้านคน และด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้ง พ.ร.บ. เพื่อการปฏิรูปให้แล้วเสร็จ ขณะนี้มีกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอยู่ในขั้นตอนการนำส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติบรรจุในระเบียบวาระเพื่อพิจารณา กฎหมายที่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ๘ ฉบับ และมีกฎหมาย ที่ส่วนราชการกำลังดำเนินการ จำนวน ๓๖ ฉบับ ขณะนี้ สปท. นำส่งแผนปฏิรูปประเทศไปยังระฐบาลแล้วจำนวน ๑๔๖ เรื่อง เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการปฏิรูปประเทศมีความคืบหน้าในการปฏิรูปประเทศ และ ๒๗ วาระปฏิรูปเร่งด่วน ๔๒ ประเด็น จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๖๐ ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างแน่นอน การปฏิรูปประเทศคือการซ่อม เสริม สร้าง ยกเครื่องประเทศใหม่ ก้าวข้าววิกฤติในอดีตที่ผ่านมา ก้าวขึ้นไปประเทศไทยยุคใหม่ คือ ประเทศไทย ๔.๐ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ หนังสือและสื่อเผยแพร่ ติดต่อรัฐสภา