กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมนำเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัล



วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา 607 ชั้น 6 อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมนำเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัล โดยมี นายกฤษณะ จ้วงสินธุ์ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ในฐานะประธานกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัล (Digital Parliament) พ.ศ. 2566 – 2570 กล่าวรายงาน ทั้งนี้ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รองเลขาธิการวุฒิสภา ที่ปรึกษาและผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ทีมที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ร่วมพิธี

โดยนางพรพิศ เพชรเจริญ กล่าวเปิดกิจกรรมว่า มีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมนำเสนอผลการศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค สำหรับนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัล (Digital Parliament) โดยมีสถาปัตยกรรมองค์กรรัฐสภาดิจิทัล เป็นกรอบการพัฒนาองค์กรทั้งองคาพยพให้เป็นมาตรฐาน มีการกำกับดูแลอย่างมีธรรมาภิบาล เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สอดประสานกันทุกองค์ประกอบ ได้แก่ กระบวนการ โครงสร้างองค์กร บุคลากร วัฒนธรรมองค์กร ข้อมูล ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยี ซึ่งจะนำไปสู่แผนที่นำทางการพัฒนาให้บรรลุเป้าประสงค์หลัก เพื่อให้ทุกกระบวนงานมีมาตรฐาน และเป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง การเปิดเผยข้อมูล สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างไร้รอยต่อ มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการทุกกลุ่ม พร้อมกันนี้ ได้กล่าวว่า สำนักงานทั้งสองส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ได้ลงทุนเกี่ยวกับเรื่องของ Infrastructure ด้านดิจิทัลมากมายมหาศาล การลงทุนเหล่านี้จะไม่สูญเปล่า หากบุคลากรของเราสามารถสอดประสานในทุกเรื่องราวที่ได้กล่าวมาข้างต้น เครื่องมือจะไม่มีความสำคัญเลย หาก Mindset ของคนรัฐสภาไม่เปลี่ยน ไม่เปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงาน ไม่พร้อมปรับเปลี่ยนตนเองให้ทันกับโลกทัศน์ในระบบดิจิทัลที่เปลี่ยนตลอดเวลา เราต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยสำนักงานได้จัด Infrastructure ให้ และไม่มีหน่วยงานใดที่ได้รับงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากเท่ากับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิงหากคนของเราไม่ปิดจุดอ่อน ไม่เพิ่มจุดแข็ง ไม่แสวงหาโอกาสและทลายอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ในองค์กรของเราเพื่อพัฒนารัฐสภาดิจิทัลให้ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยทั้งหมดนี้ได้มีการวางแผนในเรื่องดิจิทัล มี Roadmap และมีทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งต้องตั้งคำถามว่า ระบบงานที่เราวางไว้ทั้งสองส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้น เราได้เติมเต็มตามกรอบกำลังศักยภาพของบุคลากรของสำนักงานแล้วหรือยัง คนนำได้นำไปสู่เป้าหมายหรือไม่ คนตาม คนที่เป็นกลไกฟันเฟืองทำอะไร จึงขอตั้งคำถามให้ทุกคนฉุกใจคิดและตอบตัวเองว่าในสิ่งที่ตนทำอยู่ในขณะนี้นั้น เรามี Digital Mindset มากน้อยเพียงใด และตอบทุกเรื่องราวในสิ่งที่เป็น Keyword ที่เราได้ตั้งเป้าหมายไปสู่แผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัลอย่างไร ในส่วนของแผนต่าง ๆ นั้น เราเชื่อมั่นในทีมของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ให้กับเราโดยจะนำพาเราไปสู่เป้าหมายและสัมฤทธิ์ผลในวัตถุประสงค์ที่วางไว้เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของการลงทุนขององค์กรที่เราเตรียมการมาแล้วทั้งสิ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้นำความรู้และแนวคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากวิทยากรไปขับเคลื่อนและช่วยกันปิดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง ทลายอุปสรรคต่าง ๆ และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงการเดินทางไปร่วมประชุมเลขาธิการรัฐสภา ณ ราชอาณาจักรบาห์เรน ที่ผ่านมา โดยแนวโน้มของรัฐสภาทั่วโลกคือการพัฒนารัฐสภาดิจิทัล ทุกสภา ทุกองคาพยพ ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติอะไร อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นวิถีปกติที่เราจะต้องใช้ดิจิทัลร่วมกันในการทำงาน ดังนั้น เมื่อมีเป้าหมายว่าเราจะทำให้เต็มรูปแบบ ต้องคิดว่า How to คืออยู่ที่มือของพวกเราทุกคน ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่ทำสำเร็จด้วยตนเอง ทุกองคาพยพต้องช่วยกันทำงานในเป้าหมายของความเป็นรัฐสภาดิจิทัลในภาพใหญ่ทั้งหมด ทั้งนี้ ตนขอชื่นชมทั้งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาที่มีความเป็น SMART ในส่วนของบุคลากรของเรา ซึ่งความเป็น SMART คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มมากขึ้นและจะต้องมากจนกระทั่งสามารถเชื่อมอย่างไร้รอยต่อ จึงขอฝากไปยังอาจารย์ว่า ไม่ว่า Roadmap นี้จะก้าวไปในปีใดก็ตาม เมื่อเราย้อนกลับมามองน้อง ๆ ที่เป็นฟันเฟืองที่ทำให้องคาพยพเหล่านี้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ นั่นคือความสำเร็จอย่างยิ่งขององค์กรรัฐสภาของเรา และขอให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และขออำนวยพรให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อเป็นพลังในการสร้างสรรค์และพัฒนารัฐสภาให้มีความเจริญมั่นคงสืบไป
จากนั้น เป็นการนำเสนอทิศทางและสถานการณ์ปัจจุบันด้านเทคโนโลยีสำหรับรัฐสภาดิจิทัล "Digital Parliament" โดย ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน และการนำเสนอผลการศึกษาสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของรัฐสภาในรูปแบบ Panel Section  โดย ดร.ธีรยา มะยะกูล และอาจารย์ศันศนีย์ หิรัญจันทร์ ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยมดิหล ต่อจากนั้น เป็นกิจกรรม Slido ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนารัฐสภาดิจิทัลทั้ง 5 ประเด็นการพัฒนาประกอบด้วย
ประเด็นที่ 1 รัฐสภาแห่งอนาคต (Intelligence Parliament)
ประเด็นที่ 2 การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization)
ประเด็นที่ 3 การขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและประชาธิปไตย (Digital Participation and Engagement Innovation)
ประเด็นที่ 4 ดิจิทัลที่ยั่งยืน (Digital Sustainability) และ
ประเด็นที่ 5 พัฒนาด้านวัฒนธรรมดิจิทัล (Digital Culture)

สำหรับกิจกรรมดังกล่าว คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษาสำหรับการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัล (Digital Parliament) พ.ศ. 2566 - 2570 และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของรัฐสภา รวบรวม และนำผลจากการประชุมระดมความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในประเด็นจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค นำไปเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัล รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนารัฐสภาดิจิทัล
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th