กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« กรกฎาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


วันที่ 26 ต.ค. 66 คณะผู้แทนรัฐสภาไทย นำโดย นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วย นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์  ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา น.ส.ตวงทิพย์ จินตะเวช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร น.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 147 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (The 147th IPU Assembly and related meetings) ระหว่างวันที่ 23-27 ตุลาคม 2566 ณ อาคารรัฐสภา กรุงลูอันดา สาธารณรัฐแองโกลา 

โดยสรุปภารกิจของคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมวันที่สี่ได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมสหภาพรัฐสภาวันที่สาม ได้รับฟังการกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนจากประเทศสมาชิกในช่วงการอภิปรายทั่วไป (General Debate) กลุ่มผู้อภิปรายที่มิได้ตำแหน่งประธานรัฐสภา (List B and C) และกลุ่มผู้อภิปรายที่เป็นสมาชิกยุวสมาชิกรัฐสภา (Lits D) ซึ่งได้รับการจัดสรรเวลาสำหรับกล่าวถ้อยแถลงประเทศละ 2 นาที ภายใต้หัวข้อหลักของการประชุมสมัชชาในครั้งนี้คือ "Parliamentary action for peace, justice and strong institutions (SDG16) โดยนางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในนามยุวสมาชิกรัฐสภาของไทย สรุปความได้ว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 หรือ SDG16 ที่มุ่งเน้นมิติความโปร่งใส ความรับผิดชอบของการบริหารรัฐกิจ โดยยุวสมาชิกรัฐสภาไทยที่สันทัดด้านเทคโนโลยีสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นดิจิทัลของรัฐสภาในการเสริมสร้างธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอรัปชัน การเปิดเผยต่อการตรวจสอบของงานรัฐสภา ตลอดจนการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในกระบวนการด้านนิติบัญญัติ ผ่านระบบดิจิทัลของรัฐสภาไทย อันได้แก่ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและการประมูลงานออนไลน์ ระบบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการผ่านแอปพลิเคชัน "TH Parliament" โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมของรัฐสภา บันทึกการลงคะแนนเสียงของสมาชิกรัฐสภา ระบบรับเรื่องราวร้องทุกข์ออนไลน์ ระบบการติดตามสถานะของร่างพระราชบัญญัติ รวมถึงระบบ e-initiative ที่อำนวยให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์ได้โดยสะดวก

จากนั้น ที่ประชุมได้เข้าสู่ช่วงพิธีมอบรางวัล Cremer-Passy Prize: The MP of the Year Award โดยในปีนี้ สหภาพรัฐสภาได้มีมติมอบรางวัลสมาชิกรัฐสภาแห่งปีอันทรงเกียรติดังกล่าวให้แก่ Mr. Samuelu Penitala Teo ประธานรัฐสภาตูวาลูซึ่งเป็นผู้มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในด้านการผลักดันวาระด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ต่อมา ที่ประชุมได้เข้าสู่ช่วงเปิดตัวรายงาน Youth Participation in national parliaments ฉบับปี 2023 ซึ่งมีข้อสังเกตว่าแม้จะมีสมาชิกรัฐสภาที่เป็นคนรุ่นใหม่อายุต่ำกว่า 45 ปี เข้าสู่รัฐสภาในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม แต่นับว่ายังคงไม่มากพอเมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากรเยาวชนในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี  ในการดังกล่าวคณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้ร่วมกับประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ในการนำเสนอต้นแบบของส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่  ในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะในทุกระดับ โดยในส่วนของประเทศไทย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยได้นำเสนอให้ที่ประชุมรับทราบถึงพัฒนาการครั้งประวัติศาสตร์ของการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในรัฐสภาไทยที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอายุต่ำกว่า 45 ปี ตามเกณฑ์ยุวสมาชิกรัฐสภาของ IPU ได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรสูงเป็นประวัติการณ์ ถึง 210 คน คิดเป็นร้อยละ 42 รวมถึงมียุวสมาชิกรัฐสภา จำนวน 9 คน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่เช่นกัน โดยรัฐสภาไทยมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานขับเคลื่อนวาระเยาวชนผ่านชมรมสมาชิกรัฐสภา Young Paliamentarians และคณะอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเพื่อให้เสียงของคนรุ่นใหม่เป็นที่รับรู้ สิทธิได้รับการคุ้มครอง และปัญหาของเยาวชนได้รับการแก้ไขอย่างรอบด้านและยั่งยืน

จากนั้น คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอีก 10 ประเทศ นำเสนอการกำเดินการเพื่อปฏิบัติตามข้อมติ ข้อเสนอแนะหรือข้อวินิจฉัยต่าง ๆ ของสหภาพรัฐสภาที่ผ่านมา ในช่วง Special Accountability Segment ของการประชุมสมัชชา โดยนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล  ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงการดำเนินการของรัฐสภาไทยในการมีส่วนร่วมในกระบวนการรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รอบที่ 3 (Third Cycle)   โดยรัฐสภาได้มีส่วนร่วมกับกระบวนการ UPR ดังกล่าวผ่านกลไกคณะกรรมาธิการสามัญที่เกี่ยวข้องของทั้งสองสภา ได้แก่ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน เสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาที่ได้เชิญหน่วยงานฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงาน UPR ทั้งหมด มาชี้แจงข้อมูลพร้อมทั้งรับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของภาครัฐสภาต่อการดำเนินการของไทย และส่งข้อเสนอแนะของฝ่ายนิติบัญญัติไปยังฝ่ายบริหาร ตลอดจน การติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR พร้อมกันนั้นได้แจ้งให้ IPU รับทราบถึงการดำเนินการของไทยในการดังกล่าว ที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

2. นอกจากนี้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยยังได้ปฏิบัติภารกิจในการประชุมคู่ขนานต่าง ๆ อาทิ
2.1 ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์  ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา และนางสุวรรณี  สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (expert hearing) จัดโดยคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (IPU Standing Committee on Sustainable Development) ในหัวข้อ "Ensuring global food security) ในการนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ฯ ได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุมว่า แม้ไทยจะมีกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย (ฉบับล่าสุด ระยะปี 2566 - 2570) และมีคณะกรรมการอาหารแห่งชาติเป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว หากแต่ยังคงต้องอาศัยกลไกของรัฐสภา โดยเฉพาะกลไกคณะกรรมาธิการรัฐสภาในการกำกับดูแลประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการเกษตรเพื่ออาหาร (agro-food problem) ที่วางอยู่บนรากฐานของการประสานความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน และทุกระดับ
2.2 การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนมีนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุม มีวาระสำคัญในการพิจารณาและรับรองข้อมติว่าด้วย Orphanage trafficking : the role of parliaments in reducing harm  ซึ่งคณะผู้แทนรัฐสภาไทยมีส่วนสำคัญในการเสนอคำขอแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาและนำเสนอแนวการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมจนเป็นที่ยอมรับ นอกจากนั้น ที่ประชุมยังมีมติรับรองหัวข้อของร่างข้อมติในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการในการ ประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 148 และ 149 ในหัวข้อ “ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีต่อประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักนิติรัฐ” (The impact of artificial intelligence on democracy, human rights and the rule of law)
2.3 การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มีนางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุม พร้อมทั้ง ได้ร่วมอภิปรายและนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของรัฐสภาไทยต่อที่ประชุมในหัวข้อ “บทบาทของรัฐสภาในการสนับสนุนความโปร่งใส การต่อต้านการคอรัปชัน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพและความเชื่อมั่นระดับชาติและในองค์การระหว่างประเทศ” โดยนำเสนอ โครงการข้อตกลงคุณธรรมที่องค์กรต่อต้านคอรัปชัน (ACT) ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจากทุกภาคส่วน ลงนามร่วมกันเพื่อผลักดันธรรมาภิบาลของภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ รวมถึงการจัดทำความตกลงในรูปบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสำนักงานเลขาธิการของทั้งสองสภากับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ตลอดจนความริเริ่มเสนอกฎหมายเพื่อป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก (Anti-SLAPP Law) โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตและปกป้องประโยชน์สาธารณะ
2.4 นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และนายภัณฑิล น่วมเจิม ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดโดยสหภาพรัฐสภาร่วมกับองค์การอนามัยโลก ในหัวข้อ "Unpacking the development of the Pandemic Accord" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อนำเสนอพัฒนาการล่าสุดของร่างอนุสัญญาของสหประชาชาติฉบับใหม่ว่าด้วยโรคระบาด ซึ่งประเทศสมาชิกจะร่วมมือกันในเรื่องดังกล่าวเป็นครั้งแรกของโลก

3. วาระการพบปะหารือทวิภาคี ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 147 วันที่สี่ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าพบปะหารือทวิภาคีกับคณะผู้แทนรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)  นำโดย Mr. Sul Hoon โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นความร่วมมือที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย  โดยเฉพาะประเด็นความร่วมมือในด้านแรงงาน ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายเกาหลีเพิ่มโควต้าจำนวนแรงงานไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในเกาหลีใต้อย่างถูกกฎหมายในระบบ EPS เพิ่มขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้หันไปใช้ช่องทางผิดกฎหมาย รวมถึง ขอความร่วมมือนายจ้างเกาหลีดูแลสวัสดิภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของแรงงานไทยในระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยฝ่ายเกาหลีเห็นว่าไทยเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ของเกาหลีใต้ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคอาเซียน และรับจะนำเรื่องดังกล่าวส่งต่อไปยังฝ่ายบริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายเกาหลีต่อไป พร้อมทั้งขอความสนับสนุนจากไทยในการสนับสนุนเกาหลีใต้ที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ในปี 2030 ณ นครปูซาน โดยเกาหลีใต้มีคู่แข่งในการนี้คือ อิตาลีกับซาอุดีอาระเบีย

4. อนึ่ง ตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกาเป็นต้นไป คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้เข้าร่วมการรับฟังการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานสหภาพรัฐสภา ลำดับที่ 31 ณ ห้อง Sala Nobre โดยผู้สมัครทั้ง 4 คน จากแทนซาเนีย มาลาวี เซเนกัลและโซมาเลีย ได้ตอบข้อซักถามของคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก หลังจากเสร็จสิ้นการแสดงวิสัยทัศน์ ที่มี Mr. Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินรายการ

เครดิต : ภาพและข่าว โดยฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 147 กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th