กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« กรกฎาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “สถาบันนิติบัญญัติเพื่อประชาชน” และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา กล่าวรายงานถึงที่มาวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา โดยมี เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา คณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารและข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ร่วมกิจกรรม

โอกาสนี้ ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดงานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษใจความสำคัญว่า “การทำงานด้วยกันต้องมีความเข้าใจกันถึงที่สุด โดยมีเป้าหมายคือประชาชน สถาบันนิติบัญญัติเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อระบบการปกครองประชาธิปไตย ที่ทุกฝ่ายต่างยอมรับทั้งทางพฤตินัยและนิตินัย ตราบใดที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มีความสามัคคีก็จะสามารถขับเคลื่อนองค์กรและฝ่ายนิติบัญญัติให้สามารถทำงานเพื่อประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บุคลากรของทั้งสองสำนักงานต่างเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ หากใช้ความรู้ที่มีอยู่และทำงานด้วยความรัก ความเชื่อมั่น เชื่อว่าเราจะไปได้ไกลมากกว่านี้แน่นอน

รัฐสภาของเราประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา โครงสร้างการบริหารราชการในรัฐสภาวันนี้ มีผลสืบเนื่องต่อการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554 ซึ่งปัจจุบันมีหลายเรื่องต้องเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่ข้าราชการท้าทายตัวเองว่าจะปรับตัวอย่างไร เพื่อให้ประชาชนที่กำลังรอคอยเห็นว่าสิ่งที่ท้าทายนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตนจึงเห็นด้วยกับการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของรัฐสภาในวาระที่สมควรในขณะนี้ ซึ่งเรากำลังเดินไปข้างหน้าด้วยกันไม่ใช่เพื่อใคร ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรมาดำรงตำแหน่งแล้วก็ต้องจากไป แต่ข้าราชการจะยังคงอยู่และทำหน้าที่ของตนเองต่อไป นอกจากนี้ ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นกลาง ไม่ผูกพันกับพรรคการเมืองใด ดังนั้น จึงไม่ต้องการให้ฝ่ายนิติบัญญัติถูกแทรกแซงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากตำแหน่งประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ ถือเป็นหนึ่งในสามเสาหลักประชาธิปไตย ที่ฝ่ายอื่นจะเข้ามาแทรกแซงไม่ได้ ตลอดจนต้องการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติไว้ โดยธำรงไว้ซึ่งหลักการเพื่อให้ประชาธิปไตยของไทยเดินไปข้างหน้า ทั้งนี้ เห็นด้วยกับกิจกรรมในวันนี้เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการปรับปรุงโครงสร้างต่าง ๆ และขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้รัฐสภา ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของพวกเราทุกคนสง่างาม และเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นหลังต่อไป รวมทั้งขอให้พวกเราทำงานต่อไปด้วยความมั่นคง สถาพร”

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา กล่าวรายงานถึงที่มาวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาว่า พวกเรากำลังทำสิ่งที่ประชาชนคาดหวังถึงการเปลี่ยนแปลง รัฐสภาของเรามีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญซึ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ การใช้อำนาจแทนประชาชน ด้วยการตราและแก้ไขกฎหมายที่ส่งผลต่อความสุข ความทุกข์ และผลประโยชน์ของประชาชน นอกจากนี้ เรายังได้ย้ายอาคารจากอู่ทองในมาอยู่ที่เกียกกาย โดยใช้ชื่อ “สัปปายะสภาสถาน” ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงสุดท้ายของการส่งมอบอาคารรัฐสภา แต่สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรนั้น เป็นระยะเวลาเกือบ 30 ปี ที่มิได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในภาพรวม จึงเกิดคำถามว่าองค์กรของเรามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายเมื่อไรและสอดรับกับความท้าทายใหม่ในอนาคตหรือไม่ โดยการปรับปรุงโครงสร้างในภาพรวมครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2535  ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายแม่บทในการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา จำนวน 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 โดยมีสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดังนั้น จึงถึงเวลาที่ต้องกลับมาทบทวน 3 ประเด็น คือ 
1. ทบทวนงาน ทำงานอย่างมีคุณค่า 
2. ทบทวนคน เหมาะสมกับภารกิจงานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยไม่มีใครต้องตกงาน แต่ทุกคนจะได้ทำงานที่ตนเองถนัดมากขึ้น หน่วยใดขาดบุคลากรจะได้รับการเติมกำลังคนที่เหมาะสมกับงาน โดยทุกคนจะมีความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพต่อไป 
3. งบประมาณ ต้องรับผิดชอบต่อภาษีของประชาชน ต้องทำให้งานเดินไปข้างหน้าโดยมีความคุ้มค่าต่อภาษีของประชาชน เจ้านายของพวกเราที่แท้จริงก็คือประชาชนที่ฝากอำนาจผ่านมาทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

ทั้งนี้ ขอให้คำสัญญาว่าไม่มีใครต้องออกจากที่นี่ แต่ทุกคนจะได้รับการจัดสรรงานให้มีความเหมาะสมกับองค์กรเพื่อให้ภารกิจใหญ่ของเราสำเร็จ และเชื่อมั่นว่าจะได้รับความมั่นคง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรกันอย่างจริงจัง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากบนลงล่าง แต่จะรับฟังความคิดเห็นจากทุกคนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตามระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนทำให้รัฐสภามีความเป็น Smart Parliament แก้ไขจุดที่บกพร่อง เพื่อปรับปรุงองค์กรให้เข้มแข็ง นอกจากนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้มีดำริและนโยบายที่จะทำให้รัฐสภาเป็นองค์กรที่สง่างาม เป็นความหวังของประชาชน รวมทั้งปรับปรุงให้รัฐสภามีความเป็นดิจิทัล ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐสภาได้อย่างโปร่งใส และปรับปรุงตัวชี้วัดองค์กรให้เข้ากับบริบทในปัจจุบัน สุดท้ายเมื่อทำสำเร็จ เราจะอยู่ในองค์กรด้วยความภาคภูมิใจ ตลอดจนทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนได้อย่างแท้จริง

จากนั้น ในเวลา 10.00 นาฬิกา เป็นการชี้แจงเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ “ทำไมรัฐสภาไทยต้องเปลี่ยนแปลง” โดย นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนี่ง ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า นายธนกร วงษ์ปัญญา บรรณาธิการข่าว จาก The Standard ในฐานะตัวแทนสื่อมวลชน นายอรรถพล โพธิ์หาญรัตนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอส แอล เอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของรายการในเครือ GoodDay Official ดำเนินรายการโดย นางสาวจริยา มุ่งวัฒนา อนุกรรมการดำเนินงานและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา 

และในเวลา 11.00 นาฬิกา ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนางสาวนภาภรณ์ ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา พูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในหัวข้อ“การขับเคลื่อนองค์กรในบริบทที่ท้าทาย” จากนั้น ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา นายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบและอัตรากำลังของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในการสนับสนุนภารกิจของฝ่ายนิติบัญญัติ นำเสนอ “มุมมอง Road Map การปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา” ดำเนินรายการโดย นายนิวัฒน์  งามวิลัย นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานเลขานุการ ก.ร.  
  
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th