กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« กรกฎาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 24 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2567

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ระหว่างเวลา 20.00 - 22.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา (Member of the IPU Working Group on Science and Technology : WGST) พร้อมด้วย นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะทำงานฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจากไอร์แลนด์ เช็ก อียิปต์ มอลโดวา ซูรินาม บาฮามาส ไทย และฝ่ายเลขานุการฯ โดยมี Mr. Denis Naughten สมาชิกรัฐสภาไอร์แลนด์ ในฐานะประธานคณะทำงาน WGST ทำหน้าที่ประธานการประชุมการประชุมฯ เริ่มต้นด้วยการรับรองระเบียบวาระการประชุม และประธานการประชุมได้แนะนำสมาชิกคณะทำงานคนใหม่จากบาฮามาสซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ละตินอเมริกา-แคริบเบียน จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างเอกสาร IPU Charter on the Ethics of Science and Technology ได้แก่ (1) ความเหมาะสมในการเพิ่มประเด็นเรื่อง AI ลงในเอกสาร (2) เป้าหมายที่สำคัญของเอกสาร Charter และ (3) การกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการเพื่อที่จะได้นำเสนอเอกสารฉบับนี้ให้ที่ประชุมคณะมนตรีบริหารพิจารณารับรองในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 ในเดือนตุลาคม 2567 นี้ ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง
ในการนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ฯ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมในประเด็นของการให้ความสำคัญกับเป้าหมายหลักของเอกสารฉบับนี้ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการร่วมกันมาแล้ว โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ เอกสารฉบับนี้ได้กล่าวถึง AI รวมถึงการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงไว้แล้ว จึงอาจจะมีการขยายความเพิ่มเติมในเรื่อง AI อีกเพียงเล็กน้อย และเห็นควรให้มุ่งเน้นที่กระบวนการผลักดันให้เอกสารฉบับนี้ได้รับการรับรองตามกรอบเวลาในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 นี้ หลังจากที่คณะทำงานได้พากเพียรพยายามยกร่างและปรับปรุงเอกสาร Charter นี้เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 ปี ครึ่งให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด นอกจากนี้ นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ยังได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าเป้าหมายหลักของเอกสารฉบับนี้คือเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การใช้ AI กับผลกระทบต่อสังคม โดยรัฐสภาอยู่ในสถานะสำคัญที่จะสร้างความสมดุลดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ที่ประชุมได้เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นดังกล่าวของไทยและได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดวันในการแจ้งเวียนเอกสารดังกล่าว และการส่งข้อแก้ไขเป็นครั้งสุดท้าย รวมถึงประเด็นเรื่อง AI อาจจัดทำเป็นเอกสารกรณีศึกษา แยกออกมาจากร่าง Charter หลัก จากนั้นที่ประชุมได้รับทราบกิจกรรม Science for Peace Schools on Regulating AI: Ethics and the IPU Charter ซึ่งจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2567 ที่เวียดนาม อนึ่ง ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าในเดือนกรกฎาคม 2567 จะมีการนำแอปพลิเคชันมาใช้ในการสื่อสารและแก้ไขร่าง Charter ภายในคณะทำงานฯ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน
ทั้งนี้ ประธานคณะทำงานฯ ได้ขอความร่วมมือสมาชิกฯ ในการประชาสัมพันธ์การตอบแบบสำรวจในหัวข้อ Understanding parliamentarians’ use of scientific research ระดับของการให้ความร่วมมือตอบกลับจากประเทศสมาชิกยังคงน้อยอยู่ และสัดส่วนการตอบระหว่างกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ยังคงมีช่องว่างที่ห่างกันมาก
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th