กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« กรกฎาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


 วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๗.๑๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑  ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... โดยคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้เสนอ เพื่อพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการแก้ไขร่าง รัฐธรรมนูญในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการเดินหน้าตามโรดแมป เพื่อให้มีการเลือกตั้งกลางปี ๒๕๖๐ ซึ่งการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อทำให้กระบวนการทำประชามติมีความชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยสมาชิกได้อภิปรายซักถาม โต้แย้ง และเปลี่ยนแก้ไขข้อความหลายวรรค หลายเรื่อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในด้านต่าง ๆ ได้แก่

๑. ความชัดเจนในเรื่องของเสียงที่จะนับในการทำประชามติเห็นชอบรัฐธรรมนูญ  และประชามติในเรื่องคำถาม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจะใช้เสียงข้างมากของผู้ออกเสียงในการตัดสิน ระหว่างเห็นชอบกับไม่เห็นชอบ

๒. การทำให้การออกเสียงประชามติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประชาชนมาออกเสียงลงคะแนนโดยมีความรู้ และความเข้าใจรัฐธรรมนูญมากที่สุด ในประเด็นที่ประชาชนจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องไปกำหนดรายละเอียดในกฎหมายลูก ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะต้องยกร่างส่งมาให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา โดยประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการ ขึ้นมาพิจารณา โดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการทำประชามติและการเลือกตั้ง มาร่วมเป็นกรรมาธิการ

๓. การตั้งคำถามอีกหนึ่งคำถาม ซึ่งแต่เดิมตามร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้คิด และมีมติ ว่าสมควรจะถามอย่างไร หรือไม่ แต่เนื่องจากขณะนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ดำเนินงานควบคู่กันไปกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  โดยมีความคิดและมีการประสานงานในเรื่องต่าง ๆ  โดยเฉพาะเรื่องของการปฏิรูป และการเดินไปตามแผนยุทธศาสตร์ เมื่อเป็นเช่นนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

นอกจากนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังได้อภิปรายสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ให้ผ่านประชามติ ซึ่งได้มีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีข้อบกพร่องที่น้อยที่สุด โดยมีสมาชิกได้อภิปรายเสนอแนะให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับบทเฉพาะกาลในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมาร่างแรกนี้ มีการกล่าวถึงการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และแม่น้ำสายอื่น ๆ จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุประสงค์ของร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ได้กล่าวถึงปัญหาของประเทศชาติก่อนที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเข้าบริหารประเทศ คือ การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศ ซึ่งก็ได้มีการดำเนินการมาถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ  และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  ในขณะเดียวกันเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ได้เสนอแนวทางยุทธศาสตร์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้  อีกประการหนึ่งคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ ได้วางหลักการในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรไว้ในมาตรา ๓๕ และยังมีหลักการต่าง ๆ เพื่อให้คำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งจะเห็นว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ก็ได้กล่าวถึงปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือความไม่ชัดเจนของกฎหมาย หรือการโต้เถียงกันจนหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีความห่วงใยว่า หากรัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้ในอนาคต ไม่มีทางออกสำหรับปัญหาเหล่านี้ ปัญหานั้นก็จะกลับมาอีกเหมือนเดิม โดยประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยืนยันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำนั้น ทำไปด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศให้ลุล่วงไปให้ได้

 

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th