กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« สิงหาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรี ครั้งที่ ๒๔ ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๙

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 25 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559

วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๓.๐๐ นาฬิกา คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและหัวหน้าคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรี ครั้งที่ ๒๔ (The 24th Forum of Women Parliamentarians) ในการนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่วมอภิปรายต่อร่างข้อมติเรื่อง "เสรีภาพของสตรีและการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองอย่างเต็มที่ ปลอดภัย และปราศจากการแทรกแซง : การสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างชายและหญิงในการบรรลุวัตถุประสงค์นี้ (The freedom of women to participate in political process fully, safely and without interference: Building partnerships between men and women to achieve this objective) โดยกล่าวว่าร่างรัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านประชามติเมื่อเดือนสิงหาคมนั้นมีบทบัญญัติที่รับรองเรื่องความเท่าเทียมทางเพศรวมทั้งมีมาตรการคุ้มครองดูแลผู้หญิง เด็ก คนพิการและผู้ด้อยโอกาสและ นอกจากนั้นประเทศไทยได้ออกพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อใช้เป็นกลไกในการแก้ปัญหากับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเลือกปฏิบัติ ส่วนในช่วงเวลา ๑๔.๓๐ – ๑๗.๓๐ นาฬิกา นางสุวรรณีฯ ได้กล่าวอภิปรายในการอภิปรายย่อยหัวข้อ "การประกันสิทธิและอนาคตของสตรีและเด็กหญิงในห้วงเวลาแห่งสงครามและความขัดแย้ง" (Securing the rights and future of women and girls during war and conflict) ว่าประเทศไทยประสบกับปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมายซึ่งเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนหนึ่งเรียกว่า "ผู้หนีภัยจากการสู้รบ" ประเทศไทยปฏิบัติต่อคนกลุ่มดังกล่าวตามหลักสิทธิมนุษยชนโดยการให้ที่พักชั่วคราว จัดให้มีการสาธารณสุขและการศึกษา นอกจากนั้นแล้วคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ยังได้รับการฝึกอาชีพให้มีความรู้ด้านการเกษตรเพื่อให้สามารถบริโภคผลผลิตที่ตนปลูกขึ้นเอง อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ประเทศไทยคำนึงถึงหลักการสามประการ คือความสมัครใจ ความปลอดภัย และศักดิ์ศรีของผู้หนีภัยจากการสู้รบด้วยและการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สามารถทำได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่งแต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรประชาคมโลกและทุกภาคส่วนซึ่งประเทศไทยก็จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th