กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« สิงหาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และภูมิทัศน์ทางสังคมอาเซียน งานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๗ (วันที่สอง)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

       วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา
ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และ
งานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๗ Distinguished Professor
of International Relations Amitav  Achary จาก American
University at Washington DC ได้กล่าวถึงอาเซียนในความ
หลากหลายของสังคมโลก ซึ่งในปัจจุบันเป็นลักษณะของชุมชน
ที่อยู่บนวิกฤตการณ์ความไม่แน่นอน และความสับสนวุ่นวายหรือ
ที่เรียกว่า “โลกแห่งความหลากหลาย” โดยภูมิภาคอาเซียนก็เป็น
 
 
อีกชุมชนหนึ่งที่กำลังเติบโต และกำลังเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ
ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมถึงความไม่แน่นอน
อื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในระยะยาว และแนวทาง
ที่จะนำไปสู่การเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ โดยในประเด็นดังกล่าว
จะถูกนำมาหารือเพื่อหาแนวทางในการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
และเพื่อเรียนรู้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะสามารถจัดการกับปัญหา
เหล่านี้ได้อย่างไร ตลอดจนเป็นการปูแนวทางสู่อนาคตที่เป็นธรรม
และยั่งยืน
       และในเวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และภูมิทัศน์ทางสังคมอาเซียน
โดยมีผู้เข้าร่วมการอภิปราย ดังนี้
      ๑. Dr. Tang Siew Mun - Head of the ASEAN Studies
Centre, Institute of Southeast Asian Studies (ISEAS) – Yusof
Ishak, Singapore
      ๒. Mr. Zairill Khir Johari - Senior Fellow of Penang
Institute and Penang State Executive Councillor Penang,
Malaysia
      ๓. Professor Dr. Prabir De - Director, ASEAN-India Centre, Research Information System for Developing Countries (RIS), India
      ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล
ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
      โดยได้กล่าวถึงช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อาเซียนได้สร้าง
ความเปลี่ยนแปลงจากภูมิภาคที่ไม่มั่นคงไปสู่การเป็นภูมิภาค
แห่งสันติสุข และความมั่งคั่งเช่นในปัจจุบัน ซึ่งระบบอุตสาหกรรม
ก็ได้มีการเจริญเติบโตอย่างฉับพลัน รวมไปถึงการค้าเสรีในระบบ
เศรษฐกิจพหุภาคี ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
และประเทศคู่ค้า ในขณะที่เราเดินทางไปสู่โลกแห่งความหลากหลาย
ด้วยอิทธิพลจากประเทศจีนและการปฏิวัติระบบดิจิทัลแบบโลกาภิวัตน์
 พลเมืองอาเซียนจะต้องเผชิญหน้ากับการเมืองในรูปแบบใหม่
รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมใหม่ๆ ด้วย โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย
ได้มีการปฏิรูปการเมือง เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตย
ตามรูปแบบเดิม ส่วนประเทศจีนก็เป็นประเทศที่มีการค้าเสรีมากขึ้น
และเป็นประเทศใหม่ในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจและมีบทบาทในด้าน
การค้าเสรี
อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเป็นประเทศใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้ามาเป็นผู้นำ
ทางการค้าเสรี และมีเศรษฐกิจที่ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ดังนั้น
การร่วมมือกันทางการค้า จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับประเทศอินเดียได้รับผลกระทบจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นอย่างมาก เช่น ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม จึงทำให้เกิด
กำแพงภาษี ส่วนด้านการค้าเสรีกับประเทศจีนนั้น อินเดียได้
พยายามหาลู่ทางในการส่งสินค้าไปยังประเทศจีน รวมทั้ง
เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือในด้านการแข่งขันการค้าเสรีให้มาก
ยิ่งขึ้นด้วย
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th