กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« สิงหาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
“สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ของสหประชาชาติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 9 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

เมื่อวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.00 – 13.30 นาฬิกา (ตามเวลาประเทศไทย) นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา (Member of the IPU Executive Committee) เข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาออนไลน์ว่าด้วยการติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ (Global Compact for Safe, Orderly and Regular Migration : GCM) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จัดโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights : OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกรัฐสภาในการมีส่วนร่วมสนับสนุนกระบวนการติดตามการดำเนินการตามข้อตกลง GCM ทั้งภายในประเทศ และในมิติระหว่างประเทศ รวมถึงการวางแนวทางเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการโยกย้ายถิ่นฐานในอนาคตระหว่างสมาชิกรัฐสภาภายในภูมิภาค ตลอดจนความร่วมมือระหว่างภาครัฐสภากับ OHCHR โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน

การเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจากแคนาดา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ภูฏาน ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เนปาล และปากีสถาน พร้อมทั้งผู้แทนจากองค์กรเครือข่ายพันธมิตรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และดำเนินรายการโดย Mr. Klaus Dik Nielsen ที่ปรึกษาของ OHCHR โดยเริ่มจาก Ms. Pia Oberoi เจ้าหน้าที่จาก OHCHR ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดสัมมนาในครั้งนี้ และความเป็นมาโดยสรุปของข้อตกลงระหว่างประเทศ GCM ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานข้ามชาติระดับโลกที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่รับรองโดยที่ประชุมเต็มคณะของสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 73 ในปี พ.ศ. 2561 โดยมุ่งหมายให้การจัดระเบียบการโยกย้ายถิ่นฐานวางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ประเทศปลายทางได้รับ และการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้โยกย้ายถิ่นฐานซึ่งเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์และลักลอบขนถ่ายมนุษย์อย่างผิดกฎหมาย การเสวนาครั้งนี้แบ่งออกเป็นสามช่วงตามหัวข้อย่อย รวม 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) Role of parliamentarians in upholding the human rights of migrants (2) Key areas of human rights concerns and the implementation of the Global Compact for Migration และ (3) Follow up and review of the Global Compact for Migration and the International โดยผลของการเสวนาจะได้ประมวลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุดข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ International Migration Review Forum (IMRF) ของสหประชาชาติในเดือนพฤษภาคม 2565

ในการนี้ นางพิกุลแก้ว  ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมในฐานะผู้แทนของสหภาพรัฐสภา ถึงการดำเนินการของสหภาพรัฐสภาในการส่งเสริมการดำเนินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน และผลักดันให้ภาครัฐสภาสนับสนุนการดำเนินการตาม GCM มาอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ในขณะที่นานาประเทศได้ร่วมกันรับรอง GCM นั้น IPU ได้จัดการประชุมภาครัฐสภาว่าด้วย GCM โดยเฉพาะ และรับรองข้อผูกพันในการสนับสนุนการดำเนินการตาม GCM อย่างเต็มที่ โดยมีความมุ่งมั่นในการปกป้องผู้อพยพ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผ่านการให้สัตยาบันและการดำเนินการตามสนธิสัญญาและอนุสัญญา ILO และตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมนโยบายที่อยู่บนพื้นฐานของหลักฐานเชิงประจักษ์และนโยบายที่นำเสนอมุมมองที่สมดุลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานที่ส่งเสริมความเข้าใจและความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างสังคมประเทศผู้รับและผู้โยกย้ายถิ่นฐาน มุ่งหมายขจัดวาทกรรมสร้างความเกลียดชังและเหยียดเชื้อชาติของแรงงานต่างด้าว และความมุ่งมั่นที่จะอำนวยให้การโยกย้ายถิ่นฐานเปลี่ยนจาก "ความจำเป็น" มาเป็น "ทางเลือก"  โดยการแก้ปัญหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการย้ายถิ่นฐานแบบถูกบังคับ รวมทั้งความยากจนขั้นรุนแรง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และดำเนินการร่วมกันเพื่อจัดการกับการลักลอบนำเข้าแรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ได้มีสมาชิกรัฐสภาจากบังกลาเทศ และมาเลเซีย ได้ร่วมอภิปรายในประเด็นการดำเนินการของ IPU ในการสร้างความตระหนักรู้เพื่อเพิ่มบทบาทของสมาชิกรัฐสภาในประเด็นสิทธิมนุษยชนของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน และการมีส่วนร่วมในกระบวนการติดตามผลการนำ GCM ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันยังคงมีบทบาทค่อนข้างจำกัด และเสนอให้ในอนาคตมีการจัดเวทีสัมมนาของภาครัฐสภาในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ โดยนางพิกุลแก้วฯ ได้รับทราบข้อคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว และจะนำข้อเสนอแนะที่ได้รับเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร IPU ในโอกาสต่อไป

เครดิตภาพและข่าว : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th