กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« กันยายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
ประธานวุฒิสภา นำคณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 ณ จังหวัดบาหลี อินโดนีเซีย เป็นวันที่สอง

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย พร้อมด้วยคณะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นวันที่สอง ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติบาหลี (BICC) เขตนูซาดัว จังหวัดบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยการประชุมสมัชชาในครั้งนี้มียอดรวมผู้เข้าร่วมการประชุมประมาณ 900 คน จากรัฐสภาประเทศสมาชิกที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมรวมทั้งสิ้น 113 ประเทศ

การประชุมเต็มคณะเริ่มขึ้นในเวลา 09.00 นาฬิกา ด้วยวาระของคณะมนตรีบริหาร (Governing Council) โดยมี Mr. Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา และ Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภาทำหน้าที่ประธานการประชุมและเลขานุการการประชุมตามลำดับ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องต่างๆ ตามระเบียบวาระการประชุม ได้แก่ การพิจารณาคำขอสมาชิกภาพเพิ่มเติม รายงานผลงานของประธานสหภาพรัฐสภา ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา รายงานผลงานของสำนักงานเลขาธิการ IPU ในช่วงปี 2564 การพิจารณาเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารของ IPU ระยะปี 2565 - 2569 การพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขข้อบังคับของคณะกรรมการว่าด้วยปัญหาตะวันออกกลาง (Committee on Middle East Questions) และแผนกิจกรรมการประชุมของสหภาพรัฐสภาในอนาคต

จากนั้น เมื่อเวลา 11.00 นาฬิกา ที่ประชุมได้เริ่มเข้าสู่ช่วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ในวันแรก ภายใต้หัวข้อหลัก "มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ : ระดมการดำเนินการของภาครัฐสภาเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" (Getting to Zero: Mobilizing parliaments to act on climate change) โดยมี Dr. Puan Maharni ประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียทำหน้าที่ประธานการประชุมสมัชชา โดยหลังจากที่ประชุมได้รับฟังการกล่าวปาฐกถานำโดย Mr. Antonio Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ และ Mr. Ban Ki-Moon อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ผ่านคลิปวีดิทัศน์ รวมถึงตัวแทนจากประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กและตัวแทนกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะโลกร้อน ที่ประชุมได้รับฟังการกล่าวถ้อยแถลงโดยหัวหน้าคณะผู้แทนระดับประธานรัฐสภา/ประธานสภา (high-level segment) ซึ่งได้รับจัดสรรเวลาสำหรับการกล่าวถ้อยแถลงประเทศละ 7 นาที

ในการดังกล่าว ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในนามคณะผู้แทนรัฐสภาไทยต่อที่ประชุมสมัชชา เมื่อเวลา 15.00 นาฬิกา มีสาระสำคัญโดยสังเขปว่า ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในสิบประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตอบสนองต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นไปตามพันธกรณีของไทยตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยมีความก้าวหน้าที่สำคัญหลายประการ อาทิ หลังจากประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและภาคขนส่งลงถึงร้อยละ 17 ได้สำเร็จตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMA) ในปี 2563 ประเทศไทยโดยนายกรัฐมนตรีของไทยได้ประกาศในที่ประชุม COP26 ณ นครกลาสโกว์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาว่า ไทยจะตั้งเป้าหมายใหม่ที่สูงขึ้นในการเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon nuetrality) ภายในปี ค.ศ. 2050  และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero emission) ในภายในปี ค.ศ. 2065 โดยใช้แผนพัฒนาประเทศภายใต้หลัก Bio-Circular-Green (BCG) เป็นแกนในการเร่งรัดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปล่อยคาร์บอนต่ำ ผ่านมาตรการผลักดันการปรับโครงสร้างของภาคพลังงานให้มุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก ผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยในการผลิตยานยนตร์พลังไฟฟ้าตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ "ประเทศไทย 4.0" โดยที่รัฐสภาไทยพร้อมให้การสนับสนุนด้านนิติบัญญัติเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยขณะนี้ประเทศไทยกำลังเร่งรัดการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ฉบับแรกของไทยซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการในภาคเอกชนมีหน้าที่ในการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และเมื่อร่าง พ.ร.บ. ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว คาดว่าน่าจะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้ภายในกรอบเวลา

ทั้งนี้ หากประเทศกำลังพัฒนารวมถึงไทย ได้รับความสนับสนุนจากนานาประเทศในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในด้านเทคโนโลยี การพัฒนาขีดความสามารถ และด้านเงินทุน จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ได้เร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม ในตอนท้ายของถ้อยแถลง ประธานวุฒิสภาได้เน้นย้ำว่าสมาชิกรัฐสภาทั่วโลกควรกระชับความร่วมมือกันเพื่อเปลี่ยนวิกฤติจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ให้เป็นโอกาสในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดลอมหลังวิกฤตโควิด-19 ในการเร่งฟื้นฟูรากฐานของเศรษฐกิจและสังคมเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่มีความเข้มแข็ง สมดุลและยั่งยืน ผ่านการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่นานาประเทศทั่วโลกต่างเผชิญร่วมกัน เพื่อให้ไปตามพันธกรณีของข้อตกลงปารีส และเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของโลกใบนี้และอนุชนรุ่นหลัง

จากนั้น เมื่อเวลา 17.15 นาฬิกา ที่ประชุมสมัชชาได้ตัดเข้าสู่วาระการพิจารณาข้อเสนอหัวข้อเพื่อพิจารณาลงมติบรรจุในระเบียบวาระเร่งด่วน (emergency item) โดยมีข้อเสนอในหัวข้อเรื่องเดียวกันคือ วิกฤติการณ์ในยูเครน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ด้านสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคยุโรปและประชาคมระหว่างประเทศตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จาก 3 ประเทศ ได้แก่ ยูเครน อินโดนีเซีย และนิวซีแลนด์ โดยที่ประชุมสมัชชาได้ทำการลงมติแบบเปิดเผยด้วยการขานชื่อประเทศทีละประเทศตามลำดับตัวอักษร (role-call voting) ทั้งนี้ เนื่องจากยูเครนไม่มีผู้แทนอยู่ในที่ประชุมเพื่อนำเสนอร่างข้อมติของตน ข้อเสนอของยูเครนจึงเป็นอันว่าตกไปตามข้อบังคับการประชุมสมัชชา โดยคณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้ร่วมลงคะแนนสนับสนุนข้อเสนอของอินโดนีเซีย ซึ่งมีเนื้อหาส่งเสริมบทบาทของภาครัฐสภาและ IPU ในการใช้การทูตรัฐสภาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งโดยสันติวิธี และมุ่งเน้นเรื่องการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ โดยไม่มีการใช้ถ้อยคำประณามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง โดยผลปรากฎว่าที่ประชุมฯ  ได้มีมติเห็นชอบเลือกร่างข้อมติที่เสนอโดยนิวซีแลนด์ให้เป็นระเบียบวาระเร่งด่วน ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 588 คะแนน ไม่เห็นชอบ 177 คะแนน และงดออกเสียง 245 คะแนน จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 113 ประเทศ ต่อข้อเสนอของอินโดนีเซีย ที่ได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบ 376 คะแนน ไม่เห็นชอบ 472 คะแนน และงดออกเสียง 162 คะแนน ทำให้ร่างข้อมติฉบับดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างข้อมติระเบียบวาระเร่งด่วนต่อไป

 นอกจากนี้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยยังได้เข้าร่วมการประชุมคู่ขนานในกรอบต่าง ๆ ที่สำคัญ ในวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 ดังนี้
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อเวลา 09.30 นาฬิกาโดยร่วมพิจารณาร่างข้อมติ หัวข้อ “การยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมภาคการศึกษาในยุคแห่งการแพร่ระบาดใหญ่” (Leveraging information and communication technology (ICT) as an enabler for the education sector during the pandemic) ซึ่งผู้แทนรัฐสภาไทยได้ร่วมแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาร่างข้อมติในสาระสำคัญเกี่ยวกับการสนับสนุนทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการศึกษาและการส่งแสริมการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและเพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์แบบใหม่ในศตวรรษที่ 21

2. นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ร่วมการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างข้อมติ ในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เวลา 14.30 นาฬิกา โดยในช่วงแรก เป็นการกล่าวแนะนำร่างข้อมติ หัวข้อ “Rethinking and reframing the approach to peace processes with a view to fostering lasting peace” จาก Ms. Cecilia Widegren สมาชิกรัฐสภาสวีเดน และ Ms. Dzifa Gomashie สมาชิกรัฐสภากานา ในฐานะผู้ร่วมเสนอรายงาน (co-Rapporteurs) จากนั้น Mr. Saber Chowdhury อดีตประธานสหภาพรัฐสภา ได้รับเกียรติขึ้นกล่าวถึงความสำคัญของร่างข้อมติฉบับนี้ ซึ่งเสนอเข้ามาในช่วงเวลาที่สำคัญอันมีผลอย่างยิ่งต่อกระบวนการสันติภาพของโลกในปัจจุบัน โอกาสนี้ นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงให้ความเห็นต่อร่างข้อมติในภาพรวมโดยชื่นชมว่าร่างข้อมติซึ่งเน้นไปที่กระบวนการมีความหมายต่อการกำหนดทิศทางของสันติภาพโลก โดยเฉพาะความท้าทายที่มีต่อหลักการที่บัญญัติอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติที่ว่าด้วยเรื่องหลักอธิปไตย เอกราช บูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐ และหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน หากมองว่าแนวทางที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เหมาะสมในการต่อกรกับความท้าทายในวันข้างหน้า ก็สมควรที่จะกำหนดที่มั่นเพื่อสร้างโลกที่พร้อมด้วยสันติภาพสำหรับอนุชนรุ่นหลัง ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภาควรจะยังสามารถทำหน้าที่ได้แม้ว่าจะประสบกับอุปสรรคนานับประการ อาทิ COVID-19 โดยอาศัยหลักการทูตรัฐสภา (Parliamentary diplomacy) และแนวทางเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ (Human security approach) ซึ่งปรากฏในร่างข้อมติฉบับนี้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุสันติภาพโดยแท้จริง

3. นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกคณะที่ปรึกษาระดับสูงว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง (High-Level Advisory Group on Countering Terrorism and Violent Extremism : HLAG-CTVE) ของสหภาพรัฐสภา เข้าร่วมการประชุม HLAG-CTVE ครั้งที่ 10 เมื่อเวลา 14.30 นาฬิกา โดยเป็นการเข้าร่วมเป็นครั้งแรกของผู้แทนไทย นับตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา ที่ประชุมได้รับฟังการบรรยายจาก Ms. Pramila Patten ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยความรุนแรงทางเพศในภาวะความขัดแย้ง โดยให้ความเห็นว่าความรุนแรงทางเพศเป็นประเด็นหลักด้านสันติภาพและความมั่นคง ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูสันติภาพ โดยอ้างถึงการกระชำเรา ระบบทาสทางเพศ การค้ามนุษย์ การบังคับให้มีครรภ์ การบังคับให้ทำแท้ง เป็นต้น มีส่วนที่เชื่อมโยงโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่ความขัดแย้ง ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับฟังความก้าวหน้าเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการว่าด้วยการเรียกร้องเพื่อภูมิภาคซาเฮล ผ่าน “3 แกน” ได้แก่ “คน รัฐ และภูมิภาค” และ “4 ความร่วมมือ” ได้แก่ “การพัฒนา การศึกษา ชุมชน และความมั่นคง” เพื่อให้เห็นผลลัพธ์อย่างแท้จริงผ่านโครงการซึ่งดำเนินการแบบองค์รวม ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยวิจัย ทั้งนี้ HLAG-CTVE มุ่งหวังที่จะจัดการประชุมอีก 4 รายการ ระหว่างเดือนเมษายน - พฤศจิกายน 2565 ตลอดจนการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายในระดับโลก

4. นางสาวเพชรดาว  โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการอภิปราย หัวข้อ “การใช้อำนาจด้านการงบประมาณของรัฐสภาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก" (Leveraging parliamentary budgeting powers for children) เมื่อเวลา 12.30 นาฬิกา จัดโดย IPU ร่วมกับ UNICEF ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังแนวคิดในการจัดสรรงบประมาณที่มุ่งปกป้องสิทธิเด็ก ได้แก่ สิทธิในการไม่ถูกกีดกัน สิทธิในการดำรงชีวิตและพัฒนา เป็นต้น โดยในการอภิปราย นางสาวเพชรดาว  โต๊ะมีนา ได้กล่าวถึงประสบการณ์ของไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าในรัฐสภาได้มีคณะกรรมาธิการสามัญของทั้งสองสภาซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับเด็ก พร้อมทั้งร่วมในกระบวนการซึ่งทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดให้มีกลไกสนับสนุนทางการเงินให้แก่เด็กยากจน และกลไกที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ อาทิ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กับนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็ก 0-6 ปี ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีพัฒนาการในเรื่องเหล่านี้ แต่ไทยก็ยังคงจำเป็นที่จะต้องทำงานอย่างหนักอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องสิทธิเด็กและขจัดความเหลื่อมล้ำให้หมดสิ้นไป
 
นอกจากนี้ นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา ในฐานะสมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของ IPU ได้พบหารือนอกรอบกับ Dr. Stella Chungong ผู้อำนวยการด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ (Director of Health Security Preparedness) องค์การอนามัยโลก เมื่อเวลา 17.00 นาฬิกา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการเสริมสร้างการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงด้านสาธารณสุข ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และวิกฤติด้านสาธารณสุขในอนาคต จัดโดย IPU ร่วมกับ WHO  ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม 2565 ซึ่งนางสาวเพชรดาวฯ ได้รับการทาบทามให้ทำหน้าที่ผู้อภิปรายนำในกิจกรรมดังกล่าวด้วย

อนึ่ง เมื่อเวลา 13.15 นาฬิกา ประธานวุฒิสภาได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานรัฐสภา/ประธานสภา ที่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมสมัชชา ครั้งที่ 144 ณ ห้องอาหาร Kayuputih โรงแรม St. Regis Hotel, Nusa Dua

เครดิต : ภาพและข่าว โดยฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th